"ดูแลอีกฝ่ายโดยไม่คาดหวังสิ่งตอบแทน"
โอโมเตนาชิ Omotenashi
ดร. กฤตินี พงษ์ธนเลิศ
ผู้บริหารบางคนนิยมใช้การลงโทษ เชื่อว่าการกำหนดบทลงโทษที่เข้มงวดเด็ดขาด จะทำให้ผู้คนขยันขันแข็งในทำงานมากขึ้น ไม่ปล่อยปละละเลยในงาน ผลสัมฤทธิ์ขององค์กรก็จะมากขึ้น
ผู้บริหารบางคนนิยมใช้การให้รางวัล เชื่อว่าหากมีการยกย่องผู้ทำงานดี ให้รางวัลแก่ผู้ทำงานสำเร็จ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้คนในองค์กรเกิดการแข่งขันในการทำงานมากขึ้น
แต่ทั้งการลงโทษและการให้รางวัลล้วนก่อให้เกิดปัญหาหนึ่งซุกซ่อนอยู่ นั่นคือ ความรู้สึกของผู้คน
ผู้ถูกลงโทษและผู้ได้รับรางวัล เป็นเพียงคนกลุ่มเล็กในองค์กร ผู้คนส่วนใหญ่มักเพียงคอยเฝ้าสังเกตการณ์
ผู้ถูกลงโทษ ย่อมรู้สึกอับอาย โกรธแค้น
ผู้ได้รับรางวัล มีความรู้สึกฮึกเหิม รู้สึกว่าตนเหนือกว่าผู้อื่น
ผู้คนที่เหลือ ดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ถูกลงโทษ ทั้งอิจฉาหมั่นไส้ผู้ได้รับรางวัล
หากปล่อยไว้ให้เกิดขึ้นซ้ำซาก กลับกลายเป็นความแตกแยกในที่สุด
การสร้างความรักความผูกพันในองค์กร ทุกคนทำเพื่อองค์กรโดยไม่คาดหวังสิ่งตอบแทน จึงเป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังเป็นวัฒนธรรมองค์กร
ต้นเรื่อง
โอโมเตนาชิ Omotenashi เป็นแนวคิดที่ฝังรากลึกในวัฒนธรรมญี่ปุ่น เป็นจิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นจะใส่ใจกับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ คนญี่ปุ่นจึงจะให้บริการผู้อื่นแบบที่เรียกว่า คาดไม่ถึง อยู่เสมอ
Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้
"โอโมเตนาชิเป็นการดูแลอีกฝ่ายโดยไม่คาดหวังสิ่งตอบแทน "
"ไม่ว่าจะทำอะไร จงคิดถึงแขกเป็นหลัก"
"พึงตระหนักว่าตัวเองถูกมองอยู่ตลอดเวลา"
"ลองมองในมุมของลูกค้าเสมอ"
จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น