วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เสือไร้เขี้ยวนกไร้ปีก



อุปมาเหมือนเสือไม่มีเขี้ยวแลนกหาปีกมิได้


สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 12

โจโฉยกทัพตีลิฉุยกุยกีแตกไป เอียวฮองและหันเซียมเกรงจะต้องตกอยู่ในเงื้อมมือของโจโฉ
วางแผนหนีไปอยู่เมืองไต้เหลียง โจโฉคิดให้ทหารตามไป
ตันเจี๋ยวจึงบอกโจโฉว่า เอียวฮองและหันเซียมนั้น ไม่มีอันใดน่ากลัว
แค่เสือไม่มีเขี้ยว แค่นกไม่มีปีก


เสือเป็นสัตว์กินเนื้อ จำต้องอาศัยเขี้ยวเล็บในการหาเลี้ยงชีพ หากถูกถอนเขี้ยว หรือขาดเขี้ยวไป ก็จะไม่สามารถหาและกินอาหารได้ นับวันจะขาดอาหาร ผ่ายผอม หมดเรี่ยวแรง สิ้นชีวิตไป
นกเป็นสัตว์ปีก ต้องใช้ปีกโบยบินหากินเป็นอิสระ หากถูกตัดปีก หรือเสียปีกไป ก็บินไม่ได้ แม้ยังเป็นนก ก็เป็นนกที่รอวันตาย
นักบริหาร เลี้ยงชีพด้วยความรู้ความสามารถของตน จึงต้องหมั่นฝึกฝนพัฒนาตน ต้องหมั่นเรียนรู้ให้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หากขาดความรู้ความสามารถ ก็เป็นดั่งเสือไร้เขี้ยวนกไร้ปีก
อย่าให้ใครดูหมิ่นได้ว่าเป็นเสือไม่มีเขี้ยว เป็นนกไร้ปีก
และอย่าเผลอให้ใครถอนเขี้ยว ตัดปีก



Note

สำนวน ฉบับภาษาอังกฤษของ C.H. Brewitt-Taylor ว่า
Tigers without claws, birds without wings.

สำนวน ฉบับแปลใหม่ของ วรรณไว พัธโนทัย ว่า
เสือไม่มีเล็บ นกไม่มีปีก

สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้



วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เสือคืนป่า


อุปมาดังเสือปล่อยไปอยู่ป่า นานไปเห็นจะจับยาก

สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 10

โจโฉยกทัพออกจากเมืองเอียนเสียจะไปตีเอาเมืองปักเอี้ยง
ลิโป้รู้ข่าวจึงยกทัพออกมารบโจโฉ เหล่าทหารโจโฉรุมล้อม ลิโป้สู้ไม่ได้
จะหนีกลับเข้าเมืองก็โดนชักสะพานคูเมือง จึงต้องหนีต่อไปยังเมืองตันลิว
เล่าหัวจึงเตือนโจโฉให้เร่งตามจับลิโป้ เพื่อเผด็จศึกให้จบสิ้นไป

เสือเลี้ยงขังกรง แม้ไม่เคยอยู่ป่ามาก่อน หากพลั้งเผลอปล่อยหลุดเข้าป่า สัญชาตญาณเดิมย่อมนำให้ร้ายขึ้น ยิ่งหากได้ลิ้มลองเนื้อมนุษย์ เสือร้ายก็มิอาจกลับคืนกรง

การทำงานใดๆ เมื่อพบสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ให้รีบแก้ไข ปล่อยทิ้งไว้ ทำนานไปก็จะคุ้นชิน
การไม่แก้ไข กลายเป็นรับรองความถูกต้อง ยิ่งนานก็ยิ่งยึดติด หลังจากนั้นก็จะไม่สามารถแก้ไขได้
และหากคิดจะปรับแก้ ก็จะพบความไม่พึงพอใจ ความยากเย็นแสนเข็นแสนสาหัส

อย่าให้หลุดไปแม้ผิดเพียงเล็กน้อย

ผู้ปฏิบัติที่แม้ใสซื่อบริสุทธิ์ แต่เมื่อได้ลิ้มลองการทำความผิด ที่ไม่รีบแก้ไข ก็จะเหมือนเสือร้่ายที่จะเฉลียวฉลาดขึ้น พร้อมที่จะพัฒนาความเลวร้ายมากขึ้นไปเรื่อยๆ
มีแต่ผิดมากขึ้น และวนกลับมาหาที่ถูกไม่เจอ


สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้




วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ที่กว้างที่แคบ




จะทิ้งที่กว้างจะไปหาที่แคบ



สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 10

ซุนฮกเตือนโจโฉที่หุนหันพลันแล่นจะยกทัพออกจากเมืองเอียนเสียไปตีเล่าปี่ที่เมืองชีจิ๋ว
ว่ามีโอกาสเสี่ยงสูง ไปตีเล่าปี่ก็ไม่สำเร็จ แถมอาจโดนลิโป้ลอบมาตีเมืองเอียนเสีย
ยกไปทางโน้นก็ไม่สมความคิด กลับมาทางนี้ก็เสียที เหมือนทิ้งที่กว้างไปหาที่แคบ

การเดินทางก็ต้องเลือก ถนนที่ใหญ่กว้าง
บางคนตั้งใจเลือกเส้นทางเล็กด้วยหวังว่าจะเป็น ทางลัด ช่วยร่นเวลา 
ไม่เพียงทางลำบาก เจอรถติด เจอสิ่งกีดขวางขยับไปไหนไม่ได้ เสียเวลามากกว่าเดิม
ครั้นจะวกกลับมาทางใหญ่ก็ถอยไม่ได้
การบริหารงานก็เช่นกัน แทนที่จะเลือกทำงานที่เป็นไปตามระบบ ตรงไปตรงมา
กลับเลือกเส้นทางยุ่งยาก ลงไปล้วงลูกสั่งงาน สั่งผิดสั่งถูก ซิกแซก ผิดระเบียบผิดขั้นตอน
ห่วงเล็กห่วงน้อย เสียเวลากับงานไม่เป็นเรื่อง
ที่สุด งานเล็กก็ไม่สำเร็จ งานใหญ่ก็ล้มเหลว

ทางกว้าง จู่ๆก็ไปขีดเส้น ขีดข้อจำกัด ทำงานง่ายให้เป็นงานยาก
ระวังจะ ชักตื้นติดกึกชักลึกติดกัก เดินหน้าก็ไม่ได้หันกลับก็ไม่ได้
ต้องจำใจเดินทางแคบที่กำหนดขึ้นมาเอง



สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้