ความคิดท่านน้อยนัก อุปมาดังเด็กเลี้ยงโค
สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 2
เมื่อตันหลิมท้วงโฮจิ๋นไม่ให้นำทัพหัวเมืองเข้ามาจับขันทีทั้งสิบฆ่าทิ้งเสียตามคำแนะนำของอ้วนเสี้ยว
โฮจิ๋นเย้ยเยาะความคิดของตันหลิมว่า ดังเด็กเลี้ยงโค
จะทำการใหญ่....อุปมาดังคิดกับเด็กเลี้ยงโค
สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 5
เมื่อโจโฉเสนอให้อ้วนเสี้ยวไล่ล่าตามจับตั๋งโต๊ะที่กำลังเสียทียกทัพหนีขณะย้ายเมืองหลวง
แต่อ้วนเสี้ยวห่วงว่าไพร่พลของตนกำลังอิดโรยขอให้ทหารได้พักเสียก่อน
โจโฉคิดดูถูกอ้วนเสี้ยวอยู่ในใจว่า ดังเด็กเลี้ยงโค
คงไม่ใช่การดูถูกว่าเด็กเลี้ยงวัวว่าโง่เขลา แต่เด็กเลี้ยงวัวย่อมไม่มีวัตถุประสงค์อื่นใด นอกจากเลี้ยงวัว
เพียงแค่เฝ้าวัวให้อยู่ในสายตาเท่านั้น อื่นๆก็ไม่ต้องทำอะไร
วัวก็ตัวออกโต เดินไปไหนก็เห็นแต่ไกล ทั้งมักวนเวียนหากินได้แค่หลักที่ผูกไว้
หลับบ้างตื่นบ้าง ปั้นวัวปั้นควายบ้าง ยิงนกตกปลาบ้าง ก็ได้ ไม่จำต้องคิดการอื่นใหญ่โตอันใด
เป็นผู้บริหาร เป็นผู้นำ ต้องมีวิสัยทัศน์ คือรู้จักคิดไปข้างหน้า ทั้งทางกว้าง ทางลึก และทางยาว
อย่าไปมัวคิดอยู่เหมือนเด็กเลี้ยงวัว วนเวียนอยู่แค่หลักผูกวัว
ทั้งคิดเล็กคิดน้อย การใหญ่จะสำเร็จได้อย่างไร
สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้
ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊ กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้
ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้ งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตั วละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว
มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น