ไม่รู้ว่าพระวงศ์เทวราช
ภูวนาถมีโอรสา
หาไม่จะให้พระธิดา
เป็นบาทบริจาพระกุมาร
บัดนี้กษัตริย์ก็พร้อมพักตร์
ต่างต่างจักแข่งกำแหงหาญ
มิรู้ที่จะคิดบิดการ
เสียดายองค์นงคราญวิไลวรรณ
เมื่อพระนารยณ์อวตารลงไปเกิดเป็นพระราม ส่วนพระลักษมีพระชายาไปเกิดเป็นนางสีดา ธิดาทศกัณฑ์กับนางมณโฑ เมื่อแรกเกิดร้องขึ้นว่า ผลาญราพณ์ สามครั้ง ทศกัณฑ์จึงเรียกพิเภกและเหล่าโหรหลวงมาทำนาย พิเภกแนะนำว่าพระธิดาที่เกิดมาจะมาผลาญวงศ์ยักษ์เลี้ยงไว้ไม่ได้ควรนำไปลอยน้ำเสีย ฝ่ายพระชนกฤๅษีเดิมครองเมืองมิถิลาออกบวชเพื่อแสวงหาฌานสมาบัติ มาพบทารกลอยน้ำมาจึงเก็บไปเลี้ยงเป็นลูก แต่ห่วงการบำเพ็ญพรตจึงนำใส่ผอบฝังดินฝากเทวดาไว้ เวลาผ่านไปสิบหกปีพระชนกฤาษีเห็นว่าตั้งแต่บวชเป็นนักพรตมาก็ไม่สำเร็จสิ่งใด จึงขุดเอาธิดาที่ฝังไว้ขึ้นมา ตั้งชื่อให้ว่านางสีดาพากลับเข้าเมืองมิถิลา กลับไปครองราชย์สมบัติดังเดิม จากนั้นได้ประกาศทำพิธียกศรมหาธนูโมลีเพื่อหาคู่ครองให้นางสีดา พระวสิษฐ์ฤาษีและสวามิตรฤๅษีจึงพาพระรามกับพระลักษมณ์ไปร่วมพิธี ท้าวชนกเหลือบเห็นพระรามพระลักษมณ์เห็นรูปงามมีสง่าราศีจึงไต่ถามพระฤาษีทั้งสองทราบว่าเป็นโอรสท้าวทศรถแห่งกรุงศรีอยุธยาก็ให้รู้สึกเสียดายอยากได้มาเป็นคู่ครองนางสีดา แต่ก็ได้ประกาศพิธีไปแล้วจำต้องเลยตามเลย
เป็นผู้บริหารอย่าทำอะไรแบบ
ใจเร็วด่วนได้
ใจเร็วด่วนได้ คืออยากได้เร็ว ๆ โดยไม่คิดให้รอบคอบ
เมื่อไม่รอบคอบย่อมมีโอกาสพลาด
เมื่อไม่รอบคอบ เมื่อพลาด หากทำใหม่เรียกว่า
แก้ตัว
เป็นผู้บริหารอย่าพูดอะไรแบบ
พล่อย ๆ
พูดพล่อย ๆ คือ อาการที่พูดง่าย ๆ โดยไม่ตริตรอง
เมื่อไม่ตริตรองย่อมมีโอกาสพลาด
เมื่อไม่ตริตรอง เมื่อพลาด หากพูดใหม่เรียกว่า
แก้ตัว
คนชอบแก้ตัว เป็นคนไม่รับผิดชอบ ชอบโยนความผิดให้คนอื่น
คนชอบแก้ตัว โบราณว่าเป็น
คนเลวทราม เป็นเสนียด ไม่เป็นมงคล
หมายเหตุ
เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ แปลว่า
จังไร , จัญไร ก็ว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น