ที่บ้านเป็นร้านค้า ชื่อร้าน ลี้อันล้ง ตั้งอยู่หน้าสถานีรถไฟหนองตม อาปากับแม่ ขายของทุกอย่าง ตั้งแต่ ยา เครื่องเขียน หนังสือเรียน ของใช้ทั่วไปประเภท สบู่ แชมพู ยาสีฟัน เครื่องเหล็ก เครื่องไฟฟ้า เรียกได้ว่าเป็นร้านโชห่วย ที่เป็นที่รู้จักในตลาดหนองตมในสมัยนั้น (ปัจจุบันเปิดขายแบบร้านสะดวกซื้อในชื่อลี้อันล้งเหมือนเดิม ดำเนินการโดยพี่ชายคนที่สอง บุญเพิ่ม ธีระกาญจน์)
อาปากับแม่เป็นคนขยัน ไม่เคยเห็นไปเที่ยวที่ไหน แม่เป็นคนที่เรียกว่ามีหัวการค้า จับทุกอย่างมาขายได้หมด เมื่อตอนเด็ก ๆ แม่จึงสอนลูก ๆ ให้รู้จักเป็นคนทำมาค้าขาย ผู้เขียนเองก็ได้รับการสั่งสอนมาหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการค้าและเรื่องที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เอาถ่านบ้างไม่เอาถ่านบ้าง แต่โดยที่เติบโตมาใช้ชีวิตเป็นข้าราชการ จึงมิได้เอาสิ่งที่อาปากับแม่ปลูกฝังมาไปใช้ เว้นแต่เรื่องที่เป็นเรื่องที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
กล้วยตาก
แม่ตากกล้วยเยอะ น่าจะเริ่มจากการที่แม่เป็นคนที่มีหัวการค้า จึงคิดทุกอย่างเป็นการค้า แม่รับกล้วยมาขาย เป็นกล้วยน้ำว้า วางขายหน้าร้านใหญ่อีกที เรียกได้ว่าแทบจะกลายเป็นสินค้าหลักอีกชิ้นหนึ่งของร้านลี้อันล้ง ครั้งหนึ่งมีช้างเข้ามาในตลาด ในสมัยนั้นเวลามีช้างเข้ามานี่จะเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นมาก จำไม่ได้ว่าคนเลี้ยงช้างพยายามที่จะขายอาหารให้ช้างเหมือนสมัยนี้หรือไม่ ที่จำได้คือภาพที่ช้างใช้งวงควานเอาเปลือกทุเรียนจากถังขยะใส่ปาก และที่อาปาคว้ากล้วยน้ำว้าที่วางขายหน้าร้านให้ช้างกินไปหลายหวี ได้ยินเสียงแม่บ่นอยู่เหมือนกัน ทำนองว่ากล้วยนั้นเป็นของแม่ เอาไปให้ช้างกินได้อย่างไร
แม่รับซื้อกล้วยมาจากชาวบ้านที่เอามาส่ง มีลังไม้ใหญ่ ๆ อยู่ 2 ใบในห้องเก็บของ เอาไว้บ่มกล้วย ครั้งแรกเข้าใจว่าแม่ใช้ถ่านแก้สบ่มกล้วย
ถ่านแก้สที่ว่าคือ แคลเซียมคาร์ไบด์ (Calcium carbide) ที่ร้านเราขายถ่านแก้ส ที่พวกเราเด็ก ๆ ไม่ค่อยชอบหยิบขาย เพราะมันมีกลิ่นเหม็นมาก แล้วก็เหม็นติดมือ แม้จะใช้ถุงพลาสติกรองก่อนจับ ถ่านแก้สอยู่ในถังเหล็กสีดำปิดฝาแล้วเอาถุงทรายทับไว้อีกที พอดีใช้เป็นที่นั่งดูโทรทัศน์ไปด้วย ใครยึดชัยภูมิถังแก้สได้ก่อนก็สบาย เพราะเป็นที่นั่งที่เหมาะที่สุด เพราะมีถุงทรายปิดทับบนฝาถัง ป้องกันถ่านแก้สระเหิด จึงเป็นที่นั่งนุ่ม ๆ ตำแหน่งที่ตั้งถังถ่านแก้สก็บังสายตาคนทั่วไป เรียกว่านั่งตรงนั้นก็หลบงานไปได้ ส่วนใหญ่ชาวบ้านมาซื้อถ่านแก้สไปใช้กับ ตะเกียงแก้ส ซึ่งมีวาล์วปิดเปิดน้ำให้ค่อย ๆ ทำปฏิกิริยากับถ่านแก้ส ถ่านแก้สเมื่อโดนน้ำจะเกิดปฏิกิริยาให้ก๊าซอะเซทิลีน (Acetylene) ติดไฟ ปล่อยก๊าซออกมาทางท่อ ปลายท่อทำเป็นโคมจุดไฟให้แสงสว่าง ช่วงหนึ่งร้านเราไปรับตะเกียงแก้สมาขายจากวังกะพี้ อุตรดิตถ์ ที่จำได้เพราะครั้งหนึ่งอาปาเคยให้ไปติดต่อซื้อตะเกียงแก้ส ต้องไปลงรถไฟที่สถานีวังกะพี้ แล้วเดินต่อไปอีกนิด สมัยนี้ไม่เห็นมีตะเกียงแก้สใช้ที่ไหน ช่วงฤดูกาลสารทไทย จะมีคนมาซื้อถ่านแก้สมากหน่อย เอาไปจุดพลุกระบอกไม้ไผ่เสียงดังตูม ๆ
ที่เข้าใจว่าแม่ใช้แก้สบ่มกล้วยอาจเพราะมาได้ยินเอาตอนโตที่นักการเมืองโจมตีกันด้วยสำนวน มะม่วงบ่มแก้ส แต่ภายหลังได้ถามแม่ แม่บอกว่าแม่บ่มกล้วยโดยใช้ถ่านไฟใส่กะละมังใบเล็กกลบด้วยขี้เถ้า
กล้วยที่วางขายเป็นกล้วยสุกเหลืองอร่าม พอกล้วยงอมมากเหลือแม่ก็เอามาตาก ต่อมาเมื่อขายกล้วยตากได้ดี จึงกลายเป็นซื้อกล้วยมาตากขายเป็นล่ำเป็นสัน
กรรมวิธีตากกล้วยของแม่เท่าที่จำได้ คือ ต้องแกะกล้วยที่สุกงอมแล้ว ลอกเอาเส้นใยออกแล้วล้างน้ำ การลอกเส้นใยออกก่อนจะทำให้กล้วยตากออกมาสวย ส่วนการล้างน้ำก็น่าจะเป็นเคล็ดลับหนึ่งที่กล้วยตากจะออกมาสวย รสชาติดี แล้วเอาไปตาก ตอนทำน้อย ๆ ก็ใช้ตะแกรง(รูปทรงเหมือนกระด้ง แต่ตาห่าง ๆ) ต่อมาเมื่อตากมากขึ้น แม่ก็เอาตะแกรงไม้ไผ่ที่ใช้ดักปลามาทำเป็นตะแกรงตากกล้วย แดดแรง ๆ รีบเก็บก่อนตอนเย็น เพราะถ้าไม่รีบเก็บแมลงวันก็จะมา แต่ส่วนใหญ่กล้วยตากแม่จะเป็นผึ้งมาตอม เย็นเก็บใส่ไว้ในกาละมัง กล้วยจะมีน้ำหวานออกมาเหมือนหมักไว้ทั้งคืนจนเช้าจึงเอาไปตากซ้ำ ไม่เหมือนที่เห็นสมัยนี้ ตากไว้แล้วเอาพลาสติกคลุม ส่วนที่เป็นน้ำหวานก็คงจะหยดทิ้งหายไปหมด เมื่อตากจนแห้งได้ที่ก็จะระดมกันมาเอาขวดทับให้แบน เรียงใส่โหลวางขาย หรือใส่ถุงพลาสติกวางขายหน้าร้าน หรือไปส่งคนขายต่อ กล้วยตากแม่จะหวานสีสวยชุ่มฉ่ำเก็บได้นานโดยไม่ต้องใส่อะไรเลย ร้านกาแฟหน้าบ้านเห็นแม่ตากกล้วยขายได้ดี ก็เอาอย่าง แต่ทำออกมาไม่ดีเท่า กล้วยตากตอนนั้นใส่ถุงขายเป็นกิโล ถ้าจำไม่ผิดกิโลกรัมละ 8 บาท
กล้วยปิ้ง
เมื่อพูดถึงกล้วยตากแล้วก็ต้องต่อไปที่ กล้วยปิ้ง เพราะเมื่อตอนเด็กแม่ให้ปิ้งกล้วยขาย จำไม่ได้แล้วว่าเริ่มขายกล้วยปิ้งตั้งแต่เมื่อไร แต่ตอนเรียนประถมปลายหรือมัธยมต้นยังน่าจะขายอยู่ เพราะจำได้ว่าตอนเย็นเมื่อเดินกลับจากโรงเรียนอินทุภูติพิทยา(หนองตม) จะเดินฟังลิเกวิทยุคณะแก้วสาลิกามากลางตลาด ถึงบ้านแม่ก็ก่อไฟตั้งเตาปิ้งกล้วยไว้รอท่าแล้ว กล้วยปิ้งจะอร่อยน่าจะอยู่ที่การเลือกกล้วยที่กำลังห่ามได้ที่ และอยู่ที่น้ำจิ้มอร่อย
น้ำจิ้มกล้วยปิ้ง แม่น่าจะคิดสูตรได้เอง หรือไปแอบครูพักลักจำมาจากที่ใดที่หนึ่ง มาถามดูเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ แม่บอกสูตรว่า น้ำตาลปี๊บ ๑ กก. มะพร้าวขูด ๑ กก.คั้นเอากระทิ เกลือ ครึ่งถึง ๑ ชาม ต่อมาเมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ ถามใหม่ แม่บอกว่าเกลือน่าจะน้อยกว่านั้น (สงสัยจะกลัวความดันสูง) นำลงตั้งไฟในหม้อเบอร์ ๓๒ จนน้ำตาลละลายเดือด เก็บไว้ใช้ได้หลายวันโดยไม่ต้องอุ่น น้ำจิ้มกล้วยปิ้งของแม่น่าจะอร่อย เพราะคนมาซื้อกล้วยปิ้งทั้งตลาด ความอร่อยน่าจะอยู่ที่น้ำตาลปี๊บหอมหวานถึงกะทิและเค็มกำลังเหมาะ
ที่บอกว่าแม่อาจจะไปครูพักลักจำมาก็เพราะจำได้ว่าครั้งหนึ่งแม่เคยใช้ให้ไปช่วย ยายเภา (ตาปลิว) ทำขนมสาลี่ที่แม่สั่งซื้อ ที่ต้องไปช่วยเพราะแม่สั่งให้ไปจำสูตรมาให้หมดว่าใส่อะไรบ้าง ใส่เท่าไร (ด้วยแม่คิดว่าลูกคนนี้หัวดี น่าจะจำมาได้หมด) แล้วแม่ก็ได้สูตรมาทำสาลี่เอง คับคล้ายคับคลาว่าจำมาได้ไม่ถ้วน แต่อาศัยที่แม่มีหัวในการทำขนมอยู่ก็สามารถทำสาลี่กินเองได้ในที่สุด
กลับมาเรื่องกล้วยปิ้งต่อ แม่ทำอุปกรณ์ในการปิ้งกล้วยทั้งหมดเอง ตั้งแต่เตาปิ้งกล้วย ใช้ลังไม้ต่อบุด้วยสังกะสีเป็นเตาสี่เหลี่ยมพื้นผ้าขนาดใหญ่พอสมควร ตะแกรงรองปิ้ง ก็ใช้เหล็กเส้นทำเป็นตะแกรงยึดด้วยไม้หัวท้าย (เรียกว่าข่าปิ้งกล้วย) ไม้ทุบกล้วยปิ้ง ก็ทำจากไม้หนา ๆ ทุบกับเขียง ต่อมาแม่พัฒนาเป็นใส่บานพับใช้หนีบกล้วย
การปิ้งกล้วยจะมีมือปิ้งหลักอยู่ ๒ คน คือผู้เขียนกับน้องชาย (อาจารย์อุดมศักดิ์ ธีระกาญจน์) กรรมวิธีไม่มีอะไรมาก ปอกกล้วยห่ามแล้ววางบนข่าที่ตั้งบนไฟที่พอเหมาะ ใช้ส้อมเป็นอุปกรณ์ช่วยพลิกกลับกล้วย ประสบการณ์ที่จำได้คือการพิสูจน์ว่ากล้วยสุกแล้วหรือไม่ต้องใช้การดม หากไม่มีกลิ่นฝาดก็ใช้ได้ เมื่อกล้วยสุกจะเอามาหนีบให้แบนชุบน้ำจิ้มแล้วปิ้งซ้ำ บางคนชอบแบบไม่หนีบแบน แต่ใช้วิธีหนีบเบา ๆ ให้นุ่มแต่ยังกลมอยู่ชุบน้ำเกลือแทน ตอนนั้นขายกล้วยปิ้ง ๒ ลูกสลึง วันที่ขายดีสุดเป็นวันเสาร์อาทิตย์ทีี่ออกขายตั้งแต่สาย ๆ ขายกล้วยปิ้งได้ร้อยกว่าหวี
ที่น่าเบื่อที่สุดของการปิ้งกล้วยขายคือการเก็บล้างหลังจากขายหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขูดข่า กล้วยที่ชุบน้ำจิ้มปิ้งบนข่าน้ำจิ้มจะแห้งไหม้ติดข่าล้างออกยาก ต้องใช้มีดขูดออกก่อน แล้วขัดด้วยแปรงทองเหลือง ผู้เขียนกับน้องตั้งกติกาผลัดกันขูดข่าคนละวัน บางวันก็เบี้ยวกันบ้างตามประสาเด็ก
ระหว่างปิ้งกล้วยก็จะเปิดวิทยุฟัง รายการประจำที่ฟังตอนเย็นก็น่าจะเป็นลิเกแก้วสาลิกา หากเป็นตอนบ่ายก็จะเป็นลิเกคณะบุษบา จำข้อความตอนหนึ่งจากลิเกแก้วสาลิกา (ซึ่งน่าจะเป็นท่อนของกลอนลำตัดมากกว่าลิเก) ได้ว่า...หนูเอยช่างใจกล้านำเงินตรามาท้าพนัน ไม่นึกเลยว่าจะมาลุ่มหลง ไม่นึกเลยว่าจะมาลุ่มหลง มาอวดทะนงอยู่อยู่ในวงเดิมพัน ...
หรือตอนค่ำจะฟังนิทานทางวิทยุอย่างเรื่อง แปะโฮ้ว-แปะไซ ของบริษัทสหพัฒนพิบูลจำกัด วันเสาร์อาทิตย์ก็จะฟังรายการถ่ายทอดสดจากสถานีวิทยุซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นประกวดร้องเพลง เพลงฮิตของการประกวดตอนนั้นก็คือเพลง ต.ช.ด.ขอร้อง ที่ขึ้นต้นว่า ...ต.ช.ด.ย่อมาจากตำรวจชายแดน น้องเอ๋ยลำบากเหลือแสนมาอยู่ชายแดนที่ไกลแสนไกล... เวลาผ่านไป ๓๐-๔๐ ปี ตอนนี้ก็กลับมาดูรายการประกวดร้องเพลงทางโทรทัศน์อย่างรายการไมค์ทองคำ หรือ ไมค์ปลดหนี้ ฟัง ๆ ดูส่วนใหญ่ก็เอาเพลงเก่า ๆ มาร้องประกวดกันเหมือนเดิม
และก็จำไม่ได้ว่าเลิกขายกล้วยปิ้งไปเมื่อไร แต่การที่เคยขายกล้วยปิ้งเองส่งผลให้เมื่อเห็นคนขายกล้วยปิ้ง ก็จะคิดถึงชีวิตที่เคยปิ้งกล้วยขายเองบ่อย ๆ แต่ก็ไม่ค่อยจะซื้อกล้วยปิ้งกิน ด้วยรู้สึกว่ากล้วยปิ้งสมัยนี้ช่างแพงเหลือเกิน
ขนมกล้วยปิ้ง ข้าวเหนียวปิ้ง
พูดเรื่องกล้วย มีขนมอีกอย่างที่แม่ทำให้ปิ้งขายคือ ขนมกล้วยปิ้ง เอากล้วยสุกงอมมาโขลกให้เละใส่แป้ง มะพร้าวขูดน่าจะปรุงรสชาติด้วยเกลือและน้ำตาล ห่อใบตอง นำไปปิ้งจนสุก
ที่คู่กันกับขนมกล้วยปิ้งคือข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวเหนียวปิ้งแม่อร่อยตรงที่ทำแบบข้าวเหนียวมูลก่อนแล้วห่อใส้ มีทั้งใส้กล้วยและใส้มัน
ทั้งขนมกล้วยปิ้งและข้าวเหนียวปิ้ง แม่จะทำเองหมดตั้งแต่ปรุงจนกระทั่งห่อ ผู้เขียนและน้องมีหน้าที่เพียงปิ้งขาย ห่อไม่เป็น จำไม่ได้ว่าช่วงไหนที่ขายขนมแต่ละอย่าง ราคาขายก็จำไม่ได้ น่าจะห่อละสลึง
ผลิตภัณฑ์จากกล้วยที่ทำขายน่าจะมีเพียงเท่านี้ แต่แม่ก็ยังทำขนมกล้วยนึ่งให้กิน ไม่ได้ห่อเป็นห่อ ๆ เหมือนขนมใส่ไส้ แต่จะนึ่งเป็นถาด ที่บ้านเวลาทำขนมจะทำปริมาณมากเพราะแม่มีลูกหลายคนทำกินครั้งหนึ่งจะต้องเพียงพอ ซื้อกินก็ไม่ไหว หากเป็นสมัยนี้ก็ซื้อกินจะสะดวกกว่าเพราะกินมากไม่ได้ห่วงเรื่องหวานมันเค็มเกินไปจะก่อโรค
หมายเหตุ
ในที่สุดก็ตัดสินใจว่าจะเขียนแค่นี้ก่อน จะได้ตัดตอนไปใส่ จับฉ่าย ตอน เลือกมาให้แม่อ่าน เพื่อพิมพ์ไปให้แม่อ่านเล่นแล้วค่อยหาเวลาเขียนตอนต่อ
อาปากับแม่เป็นคนขยัน ไม่เคยเห็นไปเที่ยวที่ไหน แม่เป็นคนที่เรียกว่ามีหัวการค้า จับทุกอย่างมาขายได้หมด เมื่อตอนเด็ก ๆ แม่จึงสอนลูก ๆ ให้รู้จักเป็นคนทำมาค้าขาย ผู้เขียนเองก็ได้รับการสั่งสอนมาหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการค้าและเรื่องที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เอาถ่านบ้างไม่เอาถ่านบ้าง แต่โดยที่เติบโตมาใช้ชีวิตเป็นข้าราชการ จึงมิได้เอาสิ่งที่อาปากับแม่ปลูกฝังมาไปใช้ เว้นแต่เรื่องที่เป็นเรื่องที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
กล้วยตาก
แม่ตากกล้วยเยอะ น่าจะเริ่มจากการที่แม่เป็นคนที่มีหัวการค้า จึงคิดทุกอย่างเป็นการค้า แม่รับกล้วยมาขาย เป็นกล้วยน้ำว้า วางขายหน้าร้านใหญ่อีกที เรียกได้ว่าแทบจะกลายเป็นสินค้าหลักอีกชิ้นหนึ่งของร้านลี้อันล้ง ครั้งหนึ่งมีช้างเข้ามาในตลาด ในสมัยนั้นเวลามีช้างเข้ามานี่จะเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นมาก จำไม่ได้ว่าคนเลี้ยงช้างพยายามที่จะขายอาหารให้ช้างเหมือนสมัยนี้หรือไม่ ที่จำได้คือภาพที่ช้างใช้งวงควานเอาเปลือกทุเรียนจากถังขยะใส่ปาก และที่อาปาคว้ากล้วยน้ำว้าที่วางขายหน้าร้านให้ช้างกินไปหลายหวี ได้ยินเสียงแม่บ่นอยู่เหมือนกัน ทำนองว่ากล้วยนั้นเป็นของแม่ เอาไปให้ช้างกินได้อย่างไร
แม่รับซื้อกล้วยมาจากชาวบ้านที่เอามาส่ง มีลังไม้ใหญ่ ๆ อยู่ 2 ใบในห้องเก็บของ เอาไว้บ่มกล้วย ครั้งแรกเข้าใจว่าแม่ใช้ถ่านแก้สบ่มกล้วย
ถ่านแก้สที่ว่าคือ แคลเซียมคาร์ไบด์ (Calcium carbide) ที่ร้านเราขายถ่านแก้ส ที่พวกเราเด็ก ๆ ไม่ค่อยชอบหยิบขาย เพราะมันมีกลิ่นเหม็นมาก แล้วก็เหม็นติดมือ แม้จะใช้ถุงพลาสติกรองก่อนจับ ถ่านแก้สอยู่ในถังเหล็กสีดำปิดฝาแล้วเอาถุงทรายทับไว้อีกที พอดีใช้เป็นที่นั่งดูโทรทัศน์ไปด้วย ใครยึดชัยภูมิถังแก้สได้ก่อนก็สบาย เพราะเป็นที่นั่งที่เหมาะที่สุด เพราะมีถุงทรายปิดทับบนฝาถัง ป้องกันถ่านแก้สระเหิด จึงเป็นที่นั่งนุ่ม ๆ ตำแหน่งที่ตั้งถังถ่านแก้สก็บังสายตาคนทั่วไป เรียกว่านั่งตรงนั้นก็หลบงานไปได้ ส่วนใหญ่ชาวบ้านมาซื้อถ่านแก้สไปใช้กับ ตะเกียงแก้ส ซึ่งมีวาล์วปิดเปิดน้ำให้ค่อย ๆ ทำปฏิกิริยากับถ่านแก้ส ถ่านแก้สเมื่อโดนน้ำจะเกิดปฏิกิริยาให้ก๊าซอะเซทิลีน (Acetylene) ติดไฟ ปล่อยก๊าซออกมาทางท่อ ปลายท่อทำเป็นโคมจุดไฟให้แสงสว่าง ช่วงหนึ่งร้านเราไปรับตะเกียงแก้สมาขายจากวังกะพี้ อุตรดิตถ์ ที่จำได้เพราะครั้งหนึ่งอาปาเคยให้ไปติดต่อซื้อตะเกียงแก้ส ต้องไปลงรถไฟที่สถานีวังกะพี้ แล้วเดินต่อไปอีกนิด สมัยนี้ไม่เห็นมีตะเกียงแก้สใช้ที่ไหน ช่วงฤดูกาลสารทไทย จะมีคนมาซื้อถ่านแก้สมากหน่อย เอาไปจุดพลุกระบอกไม้ไผ่เสียงดังตูม ๆ
ที่เข้าใจว่าแม่ใช้แก้สบ่มกล้วยอาจเพราะมาได้ยินเอาตอนโตที่นักการเมืองโจมตีกันด้วยสำนวน มะม่วงบ่มแก้ส แต่ภายหลังได้ถามแม่ แม่บอกว่าแม่บ่มกล้วยโดยใช้ถ่านไฟใส่กะละมังใบเล็กกลบด้วยขี้เถ้า
กล้วยที่วางขายเป็นกล้วยสุกเหลืองอร่าม พอกล้วยงอมมากเหลือแม่ก็เอามาตาก ต่อมาเมื่อขายกล้วยตากได้ดี จึงกลายเป็นซื้อกล้วยมาตากขายเป็นล่ำเป็นสัน
กรรมวิธีตากกล้วยของแม่เท่าที่จำได้ คือ ต้องแกะกล้วยที่สุกงอมแล้ว ลอกเอาเส้นใยออกแล้วล้างน้ำ การลอกเส้นใยออกก่อนจะทำให้กล้วยตากออกมาสวย ส่วนการล้างน้ำก็น่าจะเป็นเคล็ดลับหนึ่งที่กล้วยตากจะออกมาสวย รสชาติดี แล้วเอาไปตาก ตอนทำน้อย ๆ ก็ใช้ตะแกรง(รูปทรงเหมือนกระด้ง แต่ตาห่าง ๆ) ต่อมาเมื่อตากมากขึ้น แม่ก็เอาตะแกรงไม้ไผ่ที่ใช้ดักปลามาทำเป็นตะแกรงตากกล้วย แดดแรง ๆ รีบเก็บก่อนตอนเย็น เพราะถ้าไม่รีบเก็บแมลงวันก็จะมา แต่ส่วนใหญ่กล้วยตากแม่จะเป็นผึ้งมาตอม เย็นเก็บใส่ไว้ในกาละมัง กล้วยจะมีน้ำหวานออกมาเหมือนหมักไว้ทั้งคืนจนเช้าจึงเอาไปตากซ้ำ ไม่เหมือนที่เห็นสมัยนี้ ตากไว้แล้วเอาพลาสติกคลุม ส่วนที่เป็นน้ำหวานก็คงจะหยดทิ้งหายไปหมด เมื่อตากจนแห้งได้ที่ก็จะระดมกันมาเอาขวดทับให้แบน เรียงใส่โหลวางขาย หรือใส่ถุงพลาสติกวางขายหน้าร้าน หรือไปส่งคนขายต่อ กล้วยตากแม่จะหวานสีสวยชุ่มฉ่ำเก็บได้นานโดยไม่ต้องใส่อะไรเลย ร้านกาแฟหน้าบ้านเห็นแม่ตากกล้วยขายได้ดี ก็เอาอย่าง แต่ทำออกมาไม่ดีเท่า กล้วยตากตอนนั้นใส่ถุงขายเป็นกิโล ถ้าจำไม่ผิดกิโลกรัมละ 8 บาท
กล้วยปิ้ง
เมื่อพูดถึงกล้วยตากแล้วก็ต้องต่อไปที่ กล้วยปิ้ง เพราะเมื่อตอนเด็กแม่ให้ปิ้งกล้วยขาย จำไม่ได้แล้วว่าเริ่มขายกล้วยปิ้งตั้งแต่เมื่อไร แต่ตอนเรียนประถมปลายหรือมัธยมต้นยังน่าจะขายอยู่ เพราะจำได้ว่าตอนเย็นเมื่อเดินกลับจากโรงเรียนอินทุภูติพิทยา(หนองตม) จะเดินฟังลิเกวิทยุคณะแก้วสาลิกามากลางตลาด ถึงบ้านแม่ก็ก่อไฟตั้งเตาปิ้งกล้วยไว้รอท่าแล้ว กล้วยปิ้งจะอร่อยน่าจะอยู่ที่การเลือกกล้วยที่กำลังห่ามได้ที่ และอยู่ที่น้ำจิ้มอร่อย
น้ำจิ้มกล้วยปิ้ง แม่น่าจะคิดสูตรได้เอง หรือไปแอบครูพักลักจำมาจากที่ใดที่หนึ่ง มาถามดูเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ แม่บอกสูตรว่า น้ำตาลปี๊บ ๑ กก. มะพร้าวขูด ๑ กก.คั้นเอากระทิ เกลือ ครึ่งถึง ๑ ชาม ต่อมาเมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ ถามใหม่ แม่บอกว่าเกลือน่าจะน้อยกว่านั้น (สงสัยจะกลัวความดันสูง) นำลงตั้งไฟในหม้อเบอร์ ๓๒ จนน้ำตาลละลายเดือด เก็บไว้ใช้ได้หลายวันโดยไม่ต้องอุ่น น้ำจิ้มกล้วยปิ้งของแม่น่าจะอร่อย เพราะคนมาซื้อกล้วยปิ้งทั้งตลาด ความอร่อยน่าจะอยู่ที่น้ำตาลปี๊บหอมหวานถึงกะทิและเค็มกำลังเหมาะ
ที่บอกว่าแม่อาจจะไปครูพักลักจำมาก็เพราะจำได้ว่าครั้งหนึ่งแม่เคยใช้ให้ไปช่วย ยายเภา (ตาปลิว) ทำขนมสาลี่ที่แม่สั่งซื้อ ที่ต้องไปช่วยเพราะแม่สั่งให้ไปจำสูตรมาให้หมดว่าใส่อะไรบ้าง ใส่เท่าไร (ด้วยแม่คิดว่าลูกคนนี้หัวดี น่าจะจำมาได้หมด) แล้วแม่ก็ได้สูตรมาทำสาลี่เอง คับคล้ายคับคลาว่าจำมาได้ไม่ถ้วน แต่อาศัยที่แม่มีหัวในการทำขนมอยู่ก็สามารถทำสาลี่กินเองได้ในที่สุด
กลับมาเรื่องกล้วยปิ้งต่อ แม่ทำอุปกรณ์ในการปิ้งกล้วยทั้งหมดเอง ตั้งแต่เตาปิ้งกล้วย ใช้ลังไม้ต่อบุด้วยสังกะสีเป็นเตาสี่เหลี่ยมพื้นผ้าขนาดใหญ่พอสมควร ตะแกรงรองปิ้ง ก็ใช้เหล็กเส้นทำเป็นตะแกรงยึดด้วยไม้หัวท้าย (เรียกว่าข่าปิ้งกล้วย) ไม้ทุบกล้วยปิ้ง ก็ทำจากไม้หนา ๆ ทุบกับเขียง ต่อมาแม่พัฒนาเป็นใส่บานพับใช้หนีบกล้วย
การปิ้งกล้วยจะมีมือปิ้งหลักอยู่ ๒ คน คือผู้เขียนกับน้องชาย (อาจารย์อุดมศักดิ์ ธีระกาญจน์) กรรมวิธีไม่มีอะไรมาก ปอกกล้วยห่ามแล้ววางบนข่าที่ตั้งบนไฟที่พอเหมาะ ใช้ส้อมเป็นอุปกรณ์ช่วยพลิกกลับกล้วย ประสบการณ์ที่จำได้คือการพิสูจน์ว่ากล้วยสุกแล้วหรือไม่ต้องใช้การดม หากไม่มีกลิ่นฝาดก็ใช้ได้ เมื่อกล้วยสุกจะเอามาหนีบให้แบนชุบน้ำจิ้มแล้วปิ้งซ้ำ บางคนชอบแบบไม่หนีบแบน แต่ใช้วิธีหนีบเบา ๆ ให้นุ่มแต่ยังกลมอยู่ชุบน้ำเกลือแทน ตอนนั้นขายกล้วยปิ้ง ๒ ลูกสลึง วันที่ขายดีสุดเป็นวันเสาร์อาทิตย์ทีี่ออกขายตั้งแต่สาย ๆ ขายกล้วยปิ้งได้ร้อยกว่าหวี
ที่น่าเบื่อที่สุดของการปิ้งกล้วยขายคือการเก็บล้างหลังจากขายหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขูดข่า กล้วยที่ชุบน้ำจิ้มปิ้งบนข่าน้ำจิ้มจะแห้งไหม้ติดข่าล้างออกยาก ต้องใช้มีดขูดออกก่อน แล้วขัดด้วยแปรงทองเหลือง ผู้เขียนกับน้องตั้งกติกาผลัดกันขูดข่าคนละวัน บางวันก็เบี้ยวกันบ้างตามประสาเด็ก
ระหว่างปิ้งกล้วยก็จะเปิดวิทยุฟัง รายการประจำที่ฟังตอนเย็นก็น่าจะเป็นลิเกแก้วสาลิกา หากเป็นตอนบ่ายก็จะเป็นลิเกคณะบุษบา จำข้อความตอนหนึ่งจากลิเกแก้วสาลิกา (ซึ่งน่าจะเป็นท่อนของกลอนลำตัดมากกว่าลิเก) ได้ว่า...หนูเอยช่างใจกล้านำเงินตรามาท้าพนัน ไม่นึกเลยว่าจะมาลุ่มหลง ไม่นึกเลยว่าจะมาลุ่มหลง มาอวดทะนงอยู่อยู่ในวงเดิมพัน ...
หรือตอนค่ำจะฟังนิทานทางวิทยุอย่างเรื่อง แปะโฮ้ว-แปะไซ ของบริษัทสหพัฒนพิบูลจำกัด วันเสาร์อาทิตย์ก็จะฟังรายการถ่ายทอดสดจากสถานีวิทยุซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นประกวดร้องเพลง เพลงฮิตของการประกวดตอนนั้นก็คือเพลง ต.ช.ด.ขอร้อง ที่ขึ้นต้นว่า ...ต.ช.ด.ย่อมาจากตำรวจชายแดน น้องเอ๋ยลำบากเหลือแสนมาอยู่ชายแดนที่ไกลแสนไกล... เวลาผ่านไป ๓๐-๔๐ ปี ตอนนี้ก็กลับมาดูรายการประกวดร้องเพลงทางโทรทัศน์อย่างรายการไมค์ทองคำ หรือ ไมค์ปลดหนี้ ฟัง ๆ ดูส่วนใหญ่ก็เอาเพลงเก่า ๆ มาร้องประกวดกันเหมือนเดิม
และก็จำไม่ได้ว่าเลิกขายกล้วยปิ้งไปเมื่อไร แต่การที่เคยขายกล้วยปิ้งเองส่งผลให้เมื่อเห็นคนขายกล้วยปิ้ง ก็จะคิดถึงชีวิตที่เคยปิ้งกล้วยขายเองบ่อย ๆ แต่ก็ไม่ค่อยจะซื้อกล้วยปิ้งกิน ด้วยรู้สึกว่ากล้วยปิ้งสมัยนี้ช่างแพงเหลือเกิน
ขนมกล้วยปิ้ง ข้าวเหนียวปิ้ง
พูดเรื่องกล้วย มีขนมอีกอย่างที่แม่ทำให้ปิ้งขายคือ ขนมกล้วยปิ้ง เอากล้วยสุกงอมมาโขลกให้เละใส่แป้ง มะพร้าวขูดน่าจะปรุงรสชาติด้วยเกลือและน้ำตาล ห่อใบตอง นำไปปิ้งจนสุก
ที่คู่กันกับขนมกล้วยปิ้งคือข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวเหนียวปิ้งแม่อร่อยตรงที่ทำแบบข้าวเหนียวมูลก่อนแล้วห่อใส้ มีทั้งใส้กล้วยและใส้มัน
ทั้งขนมกล้วยปิ้งและข้าวเหนียวปิ้ง แม่จะทำเองหมดตั้งแต่ปรุงจนกระทั่งห่อ ผู้เขียนและน้องมีหน้าที่เพียงปิ้งขาย ห่อไม่เป็น จำไม่ได้ว่าช่วงไหนที่ขายขนมแต่ละอย่าง ราคาขายก็จำไม่ได้ น่าจะห่อละสลึง
ผลิตภัณฑ์จากกล้วยที่ทำขายน่าจะมีเพียงเท่านี้ แต่แม่ก็ยังทำขนมกล้วยนึ่งให้กิน ไม่ได้ห่อเป็นห่อ ๆ เหมือนขนมใส่ไส้ แต่จะนึ่งเป็นถาด ที่บ้านเวลาทำขนมจะทำปริมาณมากเพราะแม่มีลูกหลายคนทำกินครั้งหนึ่งจะต้องเพียงพอ ซื้อกินก็ไม่ไหว หากเป็นสมัยนี้ก็ซื้อกินจะสะดวกกว่าเพราะกินมากไม่ได้ห่วงเรื่องหวานมันเค็มเกินไปจะก่อโรค
หมายเหตุ
ในที่สุดก็ตัดสินใจว่าจะเขียนแค่นี้ก่อน จะได้ตัดตอนไปใส่ จับฉ่าย ตอน เลือกมาให้แม่อ่าน เพื่อพิมพ์ไปให้แม่อ่านเล่นแล้วค่อยหาเวลาเขียนตอนต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น