เมื่อใดก็ตามที่คนในสังคม ไม่ยึดถือกฎระเบียบกติกาที่กำหนดร่วมไว้ ต่างคนต่างกระทำในสิ่งที่ตนต้องการ สังคมนั้นย่อมดำรงอยู่ไม่ได้ สังคมนั้นจึงเป็น สังคมที่ล้มเหลว
อะไรบ้างที่สังคมพึงต้องยึดเป็นกติกาของสังคมร่วมกัน เพื่อให้สังคมหนึ่งๆเดินหน้าไปได้อย่างปกติสุข
สังคมอาจกำหนดกฎเกณฑ์กติกามากน้อยอย่างไรก็ได้ แต่อย่างน้อยคนในสังคมต้องเข้าใจลึกซึ้งของคำสามคำ คือ หน้าที่ สิทธิ และ ส่วนตัว
หน้าที่ แปลว่า กิจที่จะต้องทำด้วยความรับผิดชอบ
สิทธิ แปลว่า อำนาจอันชอบธรรม อํานาจที่จะกระทําการใดๆได้อย่างอิสระโดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย
ส่วนตัว แปลว่า เฉพาะตัว เฉพาะบุคคล
ทั้ง 3 คำ จึงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
สังคม ย่อมต้องแบ่งบทบาทหน้าที่ของคนในสังคมให้ต่างรับผิดชอบให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ทุกภาระกิจมีคนรับผิดชอบ เฉกเช่น มดหรือปลวก แบ่งบทบาทหน้าที่ใน สังคมมด สังคมปลวก เป็น นางพญา มีหน้าที่ออกไข่ มดงานปลวกงาน มีหน้าที่หาอาหาร มดทหารปลวกทหาร มีหน้าที่ป้องกันศัตรู ในสังคมมนุษย์มีความสลับซับซ้อน จึงยิ่งต้องมีการแบ่งบทบาทหน้าที่กันมากยิ่งขึ้น องค์กรหรือที่ทำงาน ก็คือสังคมย่อยๆของมนุษย์ก็ต้องแบ่งบทบาทหน้าที่กันไปแม้ไม่ละเอียดเท่าสังคมใหญ่คือสังคมประเทศและสังคมโลก แต่ก็ต้องมีระบบที่ชัดเจน
คนในสังคมจึงต้องรู้หน้าที่ของตน คือรู้ว่าอะไรคือกิจของตน อะไรไม่ใช่กิจของตน และต้องทำกิจของตนนั้นด้วยความรับผิดชอบ และ ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น ไม่งดเว้นการทำหน้าที่ของตน ให้ตกเป็นภาระหน้าที่ของผู้อื่น การทำงานไม่ตรงกับหน้าที่ ย่อมก่อให้เกิดความสับสน วุ่นวาย ดังให้มดงานปลวกงานไปออกไข่ หรือให้นางพญาไปหาอาหาร ย่อมทำไม่ได้ ทั้งก่อให้เกิดความวุ่นวายสับสนทั้งสังคม
เมื่อแต่ละคนในสังคมต่างมีบทบาทหน้าที่ เหมือนกันบ้างแตกต่างกันบ้าง สังคมจึงต้องกำหนดสิทธิของคนแตกต่างกันไป เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ของตนอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง สิทธิจึงแบ่งง่ายๆออกเป็น 2 ส่วนคือ สิทธิพื้นฐาน และ สิทธิอันเกิดเนื่องมาจากหน้าที่
สิทธิพื้นฐาน เป็นสิทธิที่เป็นอำนาจอันชอบธรรมที่จะทำการใดๆได้อย่างอิสระ สิทธิอันเกิดเนื่องมาจากหน้าที่ เป็นสิทธิที่สังคมยอมให้บุคคลนั้นมีมากกว่าหรือน้อยกว่าบุคคลอื่น เนื่องจากต้องรับผิดชอบในหน้าที่ที่แตกต่างจากบุคคลอื่นในสังคม สิทธิทั้ง 2 ส่วน ย่อมต้องมีกฎกติกาหรือระเบียบของสังคมรองรับ บุคคลในสังคมจึงไม่อาจอ้างได้ว่าตนมีหรือไม่มีสิทธิใด ทั้งไม่อาจอ้างได้ว่าบุคคลอื่นมีหรือไม่มีสิทธิใด บุคคลย่อมเลือกที่ใช้หรือไม่ใช้สิทธิอันเป็นของตนนั้น แต่ไม่อาจห้ามหรือกีดกันการใช้หรือไม่ใช้สิทธิของบุคคลอื่น
เรื่องอื่นใดนอกเหนือไปจากหน้าที่และสิทธิอันกำหนดโดยกฏกติกาของสังคมแล้วจึงเป็นเรื่อง ส่วนตัว คือเป็นเรื่องเฉพาะตัว เรื่องเฉพาะบุคคล ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับสังคม ไม่มีผลกระทบต่อสังคม หากจะเกิดผลในทางดีหรือทางร้าย ก็มีผลกระทบต่อบุคคลนั้นในสังคมเพียงส่วนเฉพาะตนเท่านั้น
คนไทยมีนิสัยประจำชาติอยู่อย่างหนึ่ง ที่ภาคภูมิใจกันนักหนาคือ การตีความแบบที่เรียกว่า ศรีธนญชัย เป็นการตีความแบบฉลาดแกมโกง ตีความแบบเข้าข้างตนเอง ตามแต่ที่ตนพอใจ หากจะพูดว่า ความเป็นศรีธนญชัยมีอยู่ในตัวตนของคนไทยทุกคน ก็คงจะไม่ผิดนัก คนในองค์กรเรา คนในสังคมเรา คนในประเทศเรา จึงมักตีความคำสามคำดังกล่าว อย่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองเป็นหลัก จึงทำให้สังคมมีแต่ความวุ่นวาย สับสน ปะปน ในความเป็น หน้าที่ สิทธิ และ ส่วนตัว
คนในสังคมเรา มักอ้างเอาความเป็นส่วนตัวว่าเป็นสิทธิ ไม่ยอมทำหน้าที่ อ้างว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น โดยอ้างว่าเป็นสิทธิของตน ริดรอนสิทธิของผู้อื่น เพราะเข้าใจว่าเป็นสิทธิของตน ฯลฯ
สังคมใดที่ปล่อยให้เกิดความวุ่นวายสับสนเช่นนี้ คือ ไม่รู้หน้าที่ของตนและผู้อื่น ไม่เข้าใจสิทธิของตนและผู้อื่น ไม่เห็นความเป็นส่วนตัวของตนและความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น สังคมนั้นจึงเป็น สังคมที่ล้มเหลว
มีแต่คนในสังคมเท่านั้นที่จะหยุดความเป็น สังคมที่ล้มเหลว องค์กรที่ล้มเหลว ประเทศที่ล้มเหลว ได้ ด้วยการกลับไปยืนอยู่ในบทบาทหน้าที่ของตน ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น เคารพในสิทธิของตนและผู้อื่น ยอมรับในความเป็นส่วนตัวของทุกคน สังคมยังมีโอกาส ก่อนที่จะล้มเหลวและสูญสลายไป
ทั้ง 3 คำ จึงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
สังคม ย่อมต้องแบ่งบทบาทหน้าที่ของคนในสังคมให้ต่างรับผิดชอบให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ทุกภาระกิจมีคนรับผิดชอบ เฉกเช่น มดหรือปลวก แบ่งบทบาทหน้าที่ใน สังคมมด สังคมปลวก เป็น นางพญา มีหน้าที่ออกไข่ มดงานปลวกงาน มีหน้าที่หาอาหาร มดทหารปลวกทหาร มีหน้าที่ป้องกันศัตรู ในสังคมมนุษย์มีความสลับซับซ้อน จึงยิ่งต้องมีการแบ่งบทบาทหน้าที่กันมากยิ่งขึ้น องค์กรหรือที่ทำงาน ก็คือสังคมย่อยๆของมนุษย์ก็ต้องแบ่งบทบาทหน้าที่กันไปแม้ไม่ละเอียดเท่าสังคมใหญ่คือสังคมประเทศและสังคมโลก แต่ก็ต้องมีระบบที่ชัดเจน
คนในสังคมจึงต้องรู้หน้าที่ของตน คือรู้ว่าอะไรคือกิจของตน อะไรไม่ใช่กิจของตน และต้องทำกิจของตนนั้นด้วยความรับผิดชอบ และ ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น ไม่งดเว้นการทำหน้าที่ของตน ให้ตกเป็นภาระหน้าที่ของผู้อื่น การทำงานไม่ตรงกับหน้าที่ ย่อมก่อให้เกิดความสับสน วุ่นวาย ดังให้มดงานปลวกงานไปออกไข่ หรือให้นางพญาไปหาอาหาร ย่อมทำไม่ได้ ทั้งก่อให้เกิดความวุ่นวายสับสนทั้งสังคม
เมื่อแต่ละคนในสังคมต่างมีบทบาทหน้าที่ เหมือนกันบ้างแตกต่างกันบ้าง สังคมจึงต้องกำหนดสิทธิของคนแตกต่างกันไป เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ของตนอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง สิทธิจึงแบ่งง่ายๆออกเป็น 2 ส่วนคือ สิทธิพื้นฐาน และ สิทธิอันเกิดเนื่องมาจากหน้าที่
สิทธิพื้นฐาน เป็นสิทธิที่เป็นอำนาจอันชอบธรรมที่จะทำการใดๆได้อย่างอิสระ สิทธิอันเกิดเนื่องมาจากหน้าที่ เป็นสิทธิที่สังคมยอมให้บุคคลนั้นมีมากกว่าหรือน้อยกว่าบุคคลอื่น เนื่องจากต้องรับผิดชอบในหน้าที่ที่แตกต่างจากบุคคลอื่นในสังคม สิทธิทั้ง 2 ส่วน ย่อมต้องมีกฎกติกาหรือระเบียบของสังคมรองรับ บุคคลในสังคมจึงไม่อาจอ้างได้ว่าตนมีหรือไม่มีสิทธิใด ทั้งไม่อาจอ้างได้ว่าบุคคลอื่นมีหรือไม่มีสิทธิใด บุคคลย่อมเลือกที่ใช้หรือไม่ใช้สิทธิอันเป็นของตนนั้น แต่ไม่อาจห้ามหรือกีดกันการใช้หรือไม่ใช้สิทธิของบุคคลอื่น
เรื่องอื่นใดนอกเหนือไปจากหน้าที่และสิทธิอันกำหนดโดยกฏกติกาของสังคมแล้วจึงเป็นเรื่อง ส่วนตัว คือเป็นเรื่องเฉพาะตัว เรื่องเฉพาะบุคคล ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับสังคม ไม่มีผลกระทบต่อสังคม หากจะเกิดผลในทางดีหรือทางร้าย ก็มีผลกระทบต่อบุคคลนั้นในสังคมเพียงส่วนเฉพาะตนเท่านั้น
คนไทยมีนิสัยประจำชาติอยู่อย่างหนึ่ง ที่ภาคภูมิใจกันนักหนาคือ การตีความแบบที่เรียกว่า ศรีธนญชัย เป็นการตีความแบบฉลาดแกมโกง ตีความแบบเข้าข้างตนเอง ตามแต่ที่ตนพอใจ หากจะพูดว่า ความเป็นศรีธนญชัยมีอยู่ในตัวตนของคนไทยทุกคน ก็คงจะไม่ผิดนัก คนในองค์กรเรา คนในสังคมเรา คนในประเทศเรา จึงมักตีความคำสามคำดังกล่าว อย่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองเป็นหลัก จึงทำให้สังคมมีแต่ความวุ่นวาย สับสน ปะปน ในความเป็น หน้าที่ สิทธิ และ ส่วนตัว
คนในสังคมเรา มักอ้างเอาความเป็นส่วนตัวว่าเป็นสิทธิ ไม่ยอมทำหน้าที่ อ้างว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น โดยอ้างว่าเป็นสิทธิของตน ริดรอนสิทธิของผู้อื่น เพราะเข้าใจว่าเป็นสิทธิของตน ฯลฯ
สังคมใดที่ปล่อยให้เกิดความวุ่นวายสับสนเช่นนี้ คือ ไม่รู้หน้าที่ของตนและผู้อื่น ไม่เข้าใจสิทธิของตนและผู้อื่น ไม่เห็นความเป็นส่วนตัวของตนและความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น สังคมนั้นจึงเป็น สังคมที่ล้มเหลว
มีแต่คนในสังคมเท่านั้นที่จะหยุดความเป็น สังคมที่ล้มเหลว องค์กรที่ล้มเหลว ประเทศที่ล้มเหลว ได้ ด้วยการกลับไปยืนอยู่ในบทบาทหน้าที่ของตน ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น เคารพในสิทธิของตนและผู้อื่น ยอมรับในความเป็นส่วนตัวของทุกคน สังคมยังมีโอกาส ก่อนที่จะล้มเหลวและสูญสลายไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น