วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(นิทานทองอิน)


"ก็แกเคยตกปลาไม่มีเหยื่อบ้างไหมล่ะ...ตกไม่มีเหยื่อมันจะติดยังไง"

นิทานทองอิน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เหยื่อ คือตัวล่อให้ติดกับ
เหยื่อ มักเป็นอาหารเมื่อผู้ถูกล่อให้ติดกับเป็นสัตว์
แต่เหยื่ออาจเป็นได้อะไรก็ได้ ที่กระตุ้นต่อมความอยากของผู้ถูกล่อ เมื่อผู้ถูกล่อเป็นมนุษย์
เหยื่อจึงอาจเป็น เงินทองทรัพย์สิน ตำแหน่งหน้าที่การงาน
อย่าหลงเหยื่อ เพียงเพราะความอยาก

บางครั้งบางคราวผู้ล่าก็ใช้มนุษย์เป็นเหยื่อไปล่อมนุษย์
เมื่อผู้ล่าใช้เหยื่อได้สมประโยชน์แล้ว เหยื่อก็ไร้ประโยชน์
เหยื่อจึงเป็นเพียงแค่เครื่องมือของผู้ล่า
อย่าตกเป็นเหยื่อให้ใคร อย่าเป็นตัวล่อให้ใคร

เหยื่อ คือตัวรับเคราะห์ ผู้ถูกล่อให้ติดกับก็คือผู้รับเคราะห์ 
เหยื่อ คือผู้ถูกล่า หลงเหยื่อจึงตกเป็นเหยื่อ
อย่าตกเป็นเหยื่อของใคร

ผู้บริหารบางคนทำตัวเป็นผู้ล่า อาศัยบางคนเป็นเหยื่อ ล่อเหยื่อบางคนให้ติดกับ

อย่าตกเป็นเหยื่อให้ใคร อย่าหลงเหยื่อใด ๆ อย่าตกเป็นเหยื่อของใคร


ต้นเรื่อง

นิทานทองอิน เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นพระราชนิพนธ์โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องราวของ นายทองอิน รัตนะเนตร์ นักสืบที่มีอาชีพคล้ายพลตระเวนลับ คอยสืบข่าวให้ทางราชการ แต่ก็ไม่ได้รับราชการและรับสืบคดีให้ใครก็ตามที่ร้องขอ นายทองอินเป็นนักสืบที่มีความสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบแหลม ปลอมตัวได้อย่างแนบเนียน มีนายวัดเป็นคู่หู ดู ๆ คงจะได้แนวคิดในการเขียนมาจากเชอร์ล็อกโฮม ประมาณนั้น แต่อ่านแบบไทย ๆ หน่อย


จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด


ไม่มีความคิดเห็น: