วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(จิ๋นซีฮ่องเต้ 1)


"อ่านตำราหมื่นเล่ม มิสู้เดินทางหมื่นลี้"

จิ๋นซีฮ่องเต้ 1
น.นพรัตน์

องค์กรต้องการคนทำงานที่ เก่ง ดี มีสุข
คนเก่งคือคนที่สามารถ แก้ปัญหาได้

คนที่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้องแก้ได้ทั้ง ปัญหาในภาวะปกติ และปัญหาในภาวะวิกฤต
คนจะแก้ปัญหาได้จึงต้องมีทั้ง ความรู้และประสบการณ์

ความรู้ ต้องรู้ทั้ง 4 มิติ คือ รู้กว้าง รู้ลึก รู้ยาว  รู้เวลา
รู้กว้างคือ รู้รอบด้าน รู้รอบตัว รู้ทุกเรื่องราว 
รู้ลึกคือ รู้ลึกในสิ่งที่ตนรับผิดชอบ รู้ละเอียดในสาขาวิชาชีพแห่งตน
รู้ยาวคือ รู้ไปในอนาคตถึงปัจจัยต่าง ๆ แลแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง
รู้เวลาคือ รู้สถานการณ์ รู้ว่าเวลาใดเหมาะสม เวลาใดสมควรต่อการกระทำสิ่งใด

ประสบการณ์คือ ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทำหรือได้พบเห็นมา 
ประสบการณ์จึงอาจ สร้างสมเอง หรือ เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น
แต่ประสบการณ์เก่าอาจใช้ไม่ได้กับปัจจุบันหรืออนาคต

คนเก่ง สามารถแปลงความรู้เป็นประสบการณ์ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ปรับเป็นความรู้
ความรู้ต้องสั่งสม ประสบการณ์ต้องเสริมสร้าง


ต้นเรื่อง

จิ๋นซีฮ่องเต้ เล่มนี้ น.นพรัตน์ เขียนตามบทละครโทรทัศน์ชุด จิ๋นซีฮ่องเต้ สอดแทรกสาระความรู้ทั้งเกร็ดประวัติศาสตร์ เกร็ดพิชัยสงคราม หลักการปกครอง ที่เชื่อว่าเป็นแนวปฏิบัติของจิ๋นซีฮ่องเต้ ผู้เป็นปฐมกษัตริย์ผู้รวบรวมอาณาจักรจีนเป็นหนึ่งเดียว

Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้

"กลียุคกำเนิดผู้เปรื่องปราด สถานการณ์ก่อเกิดวีรบุรุษ"

"การที่คนผู้หนึ่งไม่แสดงความเห็น สามารถแปรความหมายได้สองประการ หนึ่งนั้นแสดงว่าตัวเองเบาปัญญา สองกลับเป็นการสร้างความโดดเด่น"

"คนผู้หนึ่งเพื่อบรรลุถึงจุดหมายไม่คำนึงถึงวิธีที่ใช้"

"การหลบซ่อนไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา"

"ทุกคนต่างมีอนาคตของตัวเอง"


จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด




ไม่มีความคิดเห็น: