"ความปรารถนาที่ไม่บรรลุผลสำเร็จ ย่อมเป็นวิถีทางของโลก"
ห่านป่า
โมริ โอไง - สันตสิริ
คนทำงานมีหลายประเภท
หนึ่งคือ สักแต่ว่าทำ ทำให้เสร็จ
หนึ่งคือ ทำด้วยความตั้งใจ ทำเพื่อความสำเร็จ
หนึ่งคือ ทำไปวัน ๆ เสร็จก็ช่างไม่เสร็จก็ช่าง ความสำเร็จไม่ต้องพูดถึง
เมื่องานไม่เสร็จตามเป้าหมาย
คนประเภทแรก จะหาข้ออ้างสารพัดสารพัน
คนประเภทที่สอง จะควานหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและรีบหาทางแก้ไข เร่งรัดงาน
คนประเภทสุดท้าย จะไม่ใส่ใจอะไรเลย ช่างแม่งมัน
ผู้บริหารองค์กรที่มีผู้ปฏิบัติเป็นคนประเภทแรกมากจะเหนื่อย มีคนประเภทที่สองมากจะสบาย มีคนประเภทสุดท้ายมากจะบ้า
ต่างกับผู้ปฏิบัติที่มีผู้บริหารเป็นคนประเภทแรกจะสบาย เป็นคนประเภทที่สองจะเหนื่อย เป็นคนประเภทสุดท้ายจะตกงาน
ต้นเรื่อง
ห่านป่า สันตสิริ แปลจากเรื่อง The Wild Geese ของ Ogai Mori ผลงานอมตะชิ้นหนึ่งของญี่ปุ่นสมัยใหม่ เล่าเรื่องถึงของสังคมสมัยเมจิ ตัวเอกสตรีที่ไม่รู้เรื่องราวของสังคม แต่ชะตากรรมทำให้ต้องตกต่ำไปเป็นภรรยาเก็บของนายทุนเงินกู้หน้าเลือด เพื่อทดแทนบุญคุณบิดา ต่อมาได้พบรักกับนักศึกษาแพทย์หนุ่ม แต่ก็จบลงด้วยความไม่สมหวัง ห่านป่า เป็นนวนิยายที่ใช้เนื้อหาแทนสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่ต้องอ่านแบบใช้ความคิดความเข้าใจเชิงปรัชญา
หมายเหตุ
จินตนาการจากเพื่อนเฟสบุ้คบางคน
@Patchara Chad-Udompan
เขาเรียกว่า เค-พี-ไอ
จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น