ผจญภัยข้ามขอบฟ้า ตอน มนตราทะเลสาบ
หวงอี้-น.นพรัตน์
มีคนพยายามกำหนดปัญหาเป็นสมการทางคณิตศาสตร์
Problem = (Expectation - Reality) x Concern
ปัญหา = (สิ่งที่คาดหวัง - สิ่งที่เป็นอยู่จริง) x ความตระหนักในการแก้ไข
นั่นคือ แม้มีช่องว่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่จริงกับความคาดหวังที่อยากให้เป็น แต่จะเป็นปัญหาหรือไม่ต้อง ขึ้นอยู่กับความตระหนักของคนที่เกี่ยวข้อง หลายเรื่องหลายราวจึงกลายเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ปัญหาเพราะคนที่เกี่ยวข้องไม่รับรู้ หรือมีเรื่องอื่นที่น่าใส่ใจมากกว่า
องค์กรที่รับผิดชอบความเป็นอยู่ของประชาชน จึงมักผิดหวังเสมอกับการพยายามแก้ไขสิ่งที่องค์กรมองว่าเป็นปัญหา แต่ประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่รับรู้ด้วย จึงเป็นการพยายามแก้ไขปัญหาที่ล้มเหลว ซ้ำซาก เพราะมิได้มองในวิถีชีวิตของประชาชน
แม้เรื่องที่มีความเห็นต้องกันว่าเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข หากมิได้ประเมินสาระสำคัญคือ ความรุนแรงของปัญหา ขนาดของปัญหา ความยากง่ายในการแก้ปัญหา จึงมิได้ตระเตรียมทรัพยากรให้เพียงพอเหมาะสม ก็จบด้วยความล้มเหลวเช่นเดิม
เป็นผู้บริหารองค์กร อย่าประเมินปัญหาตรงหน้าต่ำเกินไป
ต้นเรื่อง
ผจญภัยข้ามขอบฟ้า เป็นสุดยอดวรรณกรรมผจญภัยชุดหนึ่งของหวงอี้ที่หลอมรวมแนวคิดทั้งด้านวิทยาศาสตร์ กำลังภายใน ศาสตร์เร้นลับและพลังเหนือธรรมชาติไว้ในเรื่องเดียวกัน แฝงหลักศาสนาพุทธ แนวทางลัทธิเต๋า ความลี้ลับของธรรมชาติ และหลักปรัชญาแนวความคิดที่อยู่เหนืออารยธรรมทางวัตถุของมนุษยชาติ ชนิดที่อ่านแล้ววางไม่ลง
จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น