วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(ทวนทมิฬ)


"หากแม้นคนในโลกล้วนชาญฉลาด
โลกนี้ใยมิใช่ไร้รสชาติยิ่ง"

ทวนทมิฬ
โกวเล้ง-น.นพรัตน์

ความสุขของคนอยู่ที่ความรู้สึกว่า ตนเป็นคนฉลาด
คนที่โง่ที่สุดก็ยังรู้สึกว่าตนฉลาดกว่าผู้อื่น
คนจึงรู้สึกว่า ผู้ที่คุยสนุกที่สุด คือผู้ที่ยินยอมฟังตนโอ้อวดความฉลาด

คนที่ฉลาดจริง คือคนที่ยินดีฟังเรื่องที่โอ้อวดนั้น แม้ฟังซ้ำหลายครั้ง
คนที่ฉลาดจริง คือคนที่ยินดีให้ผู้อื่นฉลาดกว่า

เป็นผู้บังคับบัญชา ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความฉลาดบ้าง


ต้นเรื่อง

ชุดอาวุธของโกวเล้ง เป็นนวนิยายรวม 7 เรื่อง ว่ากันว่าโกวเล้งตั้งใจเขียนเพียง 2 เรื่องในชุดเท่านั้น คือ กระบี่อมตะ และ เดชขนนกยูง แล้วหยุดเขียนไป แต่กระแสส่วนใหญ่อ้างอิงจากภาพยนตร์โทรทัศน์และหนังสือจึงจัดชุดอาวุธของโกวเล้งเป็น 7 เรื่องราวประกอบด้วย

กระบี่อมตะ สำนวน ว. ณ เมืองลุง (สำนวน น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า กระบี่ยั่งยืนยาว) ; เดชขนนกยูง สำนวน ว. ณ เมืองลุง (สำนวน น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า ขนนกยูง) ; ดาบมรกต ; แค้นสั่งฟ้า ; ยอดมือปราบ ; ตะขอจำพราก และ ทวนทมิฬ

บางท่านบอกว่า สาระของอาวุธทั้งเจ็ดของโกวเล้งมิได้อยู่ที่ตัวอาวุธ หากแต่เป็นการบอกเล่าบุคลิกนิสัยที่แตกต่างของมนุษย์ในยุทธจักร จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตาม
ทวนทมิฬ เป็นเรื่องราวของ เต็งฮี้ และ เฮ้งตั่วเสียวเจี้ย ในแนวสืบสวนสอบสวน ตลอดทั้งเรื่องเต็มไปด้วยคำคม และปรัชญาชีวิต คนผู้หนึ่งขอเพียงมีความกล้าหาญ ในโลกไม่มีเรื่องที่คลี่คลายไม่ได้


หมายเหตุ
จินตนาการจากเพื่อนเฟสบุ้คบางคน

@กรกช นาควิเชตร
เห็นจะจริง แต่ผู้คนด้อยปัญญาหากมีมากมาย...รสชาดยิ่งมายิ่งขมขื่น


จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด


ไม่มีความคิดเห็น: