สิบปากมีราชบัญชา
อนิจจาควรหรือช่างว่าได้
จะให้กูผู้มีฤทธิไกร
งอนง้อพวกไอ้ปัจจามิตร
เป็นที่อัปยศอดสู
แก่หมู่เทวานักสิทธ์
จะสำรวลสรวลเล่นเป็นนิจ
ชั่วพระอาทิตย์พระจันทร์
ทศกัณฑ์เชิญสัตลุงผู้ครองกรุงจักวาลผู้เป็นสหายและตรีเมฆบุตรตรีเศียรผู้เป็นหลานมาช่วยรบกับพระราม ก็ถูกพระรามสังหาร ทศกัณฑ์รู้สึกท้อแท้ที่ญาติมิตรถูกสังหารสิ้น ตนเองออกไปรบก็พ่ายแพ้มาหลายครั้ง จึงปรึกษานางมณโฑว่าจะทำอย่างไรดี นางมณโฑก็ยังคงแนะนำเหมือนทุกครั้งคือให้เจรจาหย่าศึกแล้วคืนนางสีดาไป ทศกัณฑ์ได้ฟังก็โกรธเป็นพ้นพันทวี ทั้งสิบปากตัดพ้อว่า จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะให้ตนออกปากไปงอนง้อยอมแพ้ต่อศัตรู จะเป็นที่อัปยศอดสูยิ่งนัก จะเป็นที่หัวเราะเยาะของทั่วไป
การทำศึก ย่อมหวังชัยชนะ
การทำศึก จึงต้องใช้กลศึก
กลศึก บางครั้งจำต้องแสร้งยอมแพ้
แพ้เพื่อเอาชนะในเพลงรบถัดไป
การทำงานในองค์กร
ผู้บริหารต้องใช้กลยุทธ
กลยุทธที่สำคัญคือ แพ้บ้าง แพ้ให้เป็น
โดยเฉพาะการยอมแพ้ผู้ใต้บังคับบัญชา
เอาชนะผู้ที่อยู่ต่ำกว่า เป็นกรณีธรรมดาสามัญ
ยอมแพ้ผู้ที่อยู่ต่ำกว่า จึงได้ใจ ได้ความคิด ได้งาน
เอาชนะผู้ที่อยู่ต่ำกว่า มีแต่เสียงเยาะเย้ย ถากถาง นินทา
ยอมแพ้ผู้ที่อยู่ต่ำกว่า ย่อมได้เสียงชื่มชม นับถือ นิยม
ในสายตาของผู้ร่วมงาน
เอาชนะทุกครั้ง แข็งกร้าว ไร้น้ำใจ
ยอมแพ้ทุกครั้ง เสแสร้งแกล้งทำ ไม่จริงใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น