วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(เด็กเก็บว่าว)


"ความเงียบคือการลดเสียงดังของชีวิตลง"

เด็กเก็บว่าว
ฮาเหล็ด โฮเซนี - วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ

เสียงที่ได้ยินมีได้หลายรูปแบบ
หนึ่ง เป็นเสียงทั่วไป(Sound) เสียงที่ได้ยินปกติ ได้ยินแล้วสบายใจ รับรู้ว่าต้องการสื่อความหมายใด
หนึ่ง เป็นเสียงรบกวนสมาธิ(Noice) เสียงที่ไม่น่าฟัง ได้ยินแล้วเกิดความไม่สบาย รำคาญใจ
เสียงที่ผู้คนสื่อสารออกไป อาจเป็นได้ทั้ง Sound หรือ Noice สำหรับผู้อื่น
ผู้คนมักไม่ชอบฟังเสียงที่รำคาญใจ

ในองค์กร
ผู้บริหาร จึงต้องตั้งใจในการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติ หาไม่แล้วผู้ปฏิบัติอาจเพียง ได้ฟังแต่ไม่ได้ยิน
ลดการสื่อสารที่ไร้สาระลงบ้าง งานก็ไม่สะเปะสะปะ
ลดภารกิจที่มากมายลงบ้าง งานก็พุ่งสู่เป้าหมายแม่นยำ


ต้นเรื่อง

เด็กเก็บว่าว เขียนโดย ฮาเหล็ด โฮเซนี ซึ่งเป็นชาวอัฟกานิสถาน และแปลเป็นไทยโดย วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ เป็นเรื่องราวของเด็กชายสองคนในอัฟกานิสถาน ที่เป็นเพื่อนรักกันแต่อยู่บนความสัมพันธ์แบบกึ่งนายกึ่งบ่าว เมื่อเล่นว่าว คนหนึ่งเป็นคนเล่นว่าว อีกคนก็เป็นเพียงแค่เด็กเก็บว่าว ทั้งคู่เผชิญชะตากรรมโหดร้ายจากสงครามในอัฟกานิสถาน เมื่อคนเล่นว่าวทรยศต่อคนเก็บว่าว จะมีหนทางใดที่จะแก้ไขความรู้สึกผิดของการทรยศ และการหลอกลวง ความรักความเสียสละที่เคยมีต่อกัน

Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้

"การทำสงครามใดก็ตาม ทหารต้องเตรียมพร้อม"

"คนที่ปากกับใจตรงกัน มักจะคิดว่าคนอื่นก็เป็นเช่นกัน"

"สงครามไร้ความละอายใจ"

"เมื่อได้มาแล้วสูญเสียไปย่อมปวดร้าวกว่าการไม่มีตั้งแต่แรก"

"พวกเดียวกันก็ต้องชอบเหมือนกัน"

"โลกนี้มีคนเลวอยู่จริง และบางครั้งคนเลวก็เลวตลอด"


จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด

ไม่มีความคิดเห็น: