วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(มหัศจรรย์อินเดีย)



"การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อนจึงจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน"

มหัศจรรย์อินเดีย
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์

คนทั่วไปมักคิดว่า เมื่อมีปัญหาต้องมีการเปลี่ยนแปลง
แต่ความเป็นจริงก็คือ เพียงแค่มีปัญหายังไม่เพียงพอ
ผู้คนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อรู้สึกถึงความไม่พึงพอใจในสภาพที่เป็นอยู่เดิม

แต่การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายดาย
การเปลี่ยนแปลงจริงจะเกิดขึ้นได้เมื่อ 
หนึ่ง รู้สึกถึงความไม่พึงพอใจในสภาพที่เป็นอยู่เดิม
หนึ่ง รู้ถึงเป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนแปลง

กระนั้นการเปลี่ยนแปลงก็ยังไม่ใช่สิ่งที่เกิดจะขึ้นได้
หากยังไม่กล้าที่จะเริ่มต้น ก้าวแรกในการเปลี่ยนแปลง

ความไม่พึงพอใจในสิ่งเดิมต้องมากพอ
เป้าหมายใหม่ต้องจูงใจมากพอ
ความกล้าก้าวแรกต้องมากพอ
มิฉะนั้นจะไม่อาจพ้นแรงต้านไปได้
แรงต้านจากผู้คนรอบข้างและแรงต้านภายในจากตนเอง

หมายเหตุ
ข้อมูลจาก Beckhard’s Change Equation

D x V x F > R
D = Dissatisfaction
      ความไม่พอใจในสภาพที่เป็นอยู่
V = Vision
      วิสัยทัศน์ในสิ่งที่จะเป็น
F = First steps
      ก้าวแรกที่เป็นรูปธรรม สู่การเปลี่ยนแปลง
R = Resistance
      แรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง



ต้นเรื่อง

มหัศจรรย์อินเดีย เป็นหนังสือที่รวบรวมผลงานงานเขียนของ ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ จากคอลัมน์ ธรรมลีลา หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ ในห้วง พ.ศ.2550-2553 จึงเป็นเรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งสถานที่และมุมมอง แบ่งหมวดได้เป็น รู้จักอินเดีย รู้รอบเรื่องศาสนสถานและโบราณคดี ผู้เป็นปูชนียบุคคล ทำให้รู้จักและเข้าใจอินเดียมากขึ้น

Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้

"เรากลัวเพราะเราไม่คุ้นนั่นเอง"

"เรามักจะมองปัญหาและเห็นปัญหาที่คนอื่นทุกที"
 

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด

ไม่มีความคิดเห็น: