วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(เมาคลี ลูกหมาป่า)


"พวกมันเกลียดเจ้า เพราะเจ้าคิดเป็น"

เมาคลี ลูกหมาป่า
Rudyard Kipling : ปณิตา ธรรมนิธิ

ผู้บริหารมีหลายสไตล์
บางคนชอบคิดเองและสั่งให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม
บางคนชอบแบบมีใครคนหนึ่งคิดให้ แล้วนำมาสั่งการให้ดูเหมือนตนเป็นผู้คิด
บางคนชอบให้ผู้ร่วมงานสุมหัวกันคิด และหาข้อสรุปมาเป็นข้อสั่งการ

มองเชิงบวก (ทฤษฎีบริหารต่าง ๆ แนะนำให้คิดเชิงบวก มองผู้อื่นเชิงบวก)
ผู้บริหารประเภทแรก เป็นคนฉลาด เป็นคนเก่ง มีภาวะผู้นำสูง เหมาะสมกับการเป็นผู้บริหาร
ผู้บริหารประเภทที่สอง เป็นคนทำงานเป็น รู้จักมอบหมายงานให้ผู้อื่นทำแทน เหมาะสมกับการเป็นผู้บริหาร
ผู้บริหารประเภทสุดท้าย เป็นผู้ที่รู้จักการทำงานเป็นทีม กระตุ้นพลังความคิดสร้างสรรค์ เหมาะสมกับการเป็นผู้บริหาร

มองเชิงลบ (ข้อเท็จจริงในสังคม เราย่อมคิดถึงผู้อื่นเชิงลบเสมอ)
ผู้บริหารประเภทแรก เป็นพวกเผด็จการ มักโกรธหากผู้ปฏิบัติจะคิดได้เองหรือแม้แต่นำสิ่งที่ได้รับคำสั่งไปคิดต่อยอด
ผู้บริหารประเภทที่สอง เป็นพวกหัวขโมย ชอบแอบอ้าง และมักโกรธหากมีผู้เปิดเผยว่าเขาไม่ได้คิดเอง
ผู้บริหารประเภทสุดท้าย เป็นพวกเพ้อฝัน ทำให้เกิดความขัดแย้งในองค์กรแล้วก็ไม่ได้ข้อสรุปอะไร ในที่สุดก็ต้องมาตัดสินใจเอง ทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

มองแบบกลาง ๆ ทุกวิธีย่อมมีข้อดีข้อเสีย ที่ผู้บริหารต้องเลือกใช้ตามสถานการณ์ หากเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเป็นประจำ ก็จะเคยตัว ท้ายที่สุดมักตกเป็นเหยื่อของการถูกมองเชิงลบแน่นอน


ต้นเรื่อง

เมาคลีลูกหมาป่า The Jungle book เป็นนิทานที่เขียนโดยริยาร์ด คลิปลิง เล่มนี้แปลไทยโดย ปณิตา ธรรมนิธิ เล่าถึงชีวิตของ เมาคลี ลูกมนุษย์ตัวน้อยในฝูงหมาป่า ถูกสอนให้ใช้ชีวิตแบบสัตว์ป่า มีเพื่อนเป็นสัตว์ป่า อาทิ หมีบาลู เสือบากีรา และมีศัตรูเป็นสัตว์ป่า เสือโคร่งเชียร์คาน เมาคลีต้องเรียนรู้ในการมีชีวิตอยู่ในป่าและกฎกติกาของป่า และเมื่อถึงวันที่เมาคลี ต้องกลับคืนสู่สังคมมนุษย์ จะทำอย่างไร เป็นนิทานที่ยังน่าอ่านอยู่ตลอดกาล

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด


















ไม่มีความคิดเห็น: