เมื่อเห็นสุราเพียงพอ
หวังว่าตนเองสามารถกรอกผู้อื่นเมามายก่อน
เมื่อสุราไม่พอ ก็จะชิงดื่มก่อน
กระดึง สายลม คมดาบ
โก้วเล้ง-น.นพรัตน์
บุคคลแสดงออกด้วย จิตสำนึก เพื่อดำรงตนอยู่ได้ในสังคม
หากบุคคลยังคงมี จิตใต้สำนึก ที่ซ่อนเร้นอยู่
จิตใต้สำนึกมักคำนึงถึงส่วนตัวมากกว่าเห็นแก่ผู้อื่น
เมื่อใดก็ตามที่เกิดภัยอันตราย เมื่อใดก็ตามที่เกิดภาวะจวนตัว
บุคคลย่อมกลับไปใช้จิตใต้สำนึก คือ เอาตัวรอด
บุคคลจึงพึงควบคุมตนมิให้จิตใต้สำนึกแสดงออก
เป็นผู้บังคับบัญชา พึงควบคุมความเห็นแก่ตัว เพื่อเห็นแก่ส่วนรวมขององค์กร
เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา พึงเข้าใจเมื่อ ผู้บังคับบัญชามอบหมายภารกิจเพื่อส่วนรวมขององค์กร
เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรี พึงควบคุมความเห็นแก่ตัว เพื่อเห็นแก่ส่วนรวมของประชาชน
อย่าเห็นแก่ตนแลพรรคพวกตนมากกว่าประชาชน
อย่าเอาแต่ความรู้สึกจากจิตใต้สำนึก
อย่าเอาตัวรอด
ต้นเรื่อง (ข้อมูลจากคำนำของหนังสือเอง)
"กระดึง สายลม คมดาบ" เป็นเรื่องราวเล่าถึงบุคคลกลุ่มหนึ่ง โฉมสะคราญงามล้ำผู้เดียวดาย บุรุษชุดดำมือดาบอันดับหนึ่งแห่งแผ่นดิน มือเพชฌฆาตแห่งกรมราชทัณฑ์ผู้ชับซ้อน และคุณชายตระกูลม่อยังผู้สูง ในปรัชญาแฝงความรัก ในความลึกซึ้งแฝงความซับซ้อน จัดเป็นอีกหนึ่งยอดผลงานของโก้วเล้ง แปลโดย น.นพรัตน์ ที่น่าติดตาม
จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น