เดิมแผ่นดินเมืองจีนทั้งปวงนั้น
เป็นสุขมาช้านานแล้วก็เป็นศึก
เป็นสุขมาช้านานแล้วก็เป็นศึก
ครั้นศึกสงบแล้วก็เป็นสุข...
สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 1
ประโยคเริ่มต้นของนิยาย สามก๊ก
สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 1
ประโยคเริ่มต้นของนิยาย สามก๊ก
สามก๊กเริ่มต้นด้วยประโยคสั
ถึงกระนั้นก็ตาม บางคนยังเห็นว่า แต่เหตุใดตนจึงทุกข์มากกว่าสุข ทุกข์มากกว่าคนอื่น แต่ก็มีบางคนกลับเห็นเป็นตรงข้ามเช่นกัน ไม่รู้สึกว่าตนมีทุกข์เลย หรือทุกข์มีก็น้อยมาก
ทุกข์ สุข ขึ้นอยู่กับ Threshold และ Concern ของแต่ละบุคคล แม้ในสภาวะการณ์เดียวกัน ก็ยังรับรู้ไม่เท่ากัน หรือเรียกได้ว่าขึ้นกับจริตของแต่ละบุคคล
แต่มิได้หมายความว่าเมื่อพบความสุขแล้วก็จะสุขไปตลอดชีวิต เมื่อพบความทุกข์ก็จะทุกข์ไปตลอดชีวิต เมื่อสุขเดี๋ยวก็ทุกข์ เมื่อทุกข์เดี๋ยวก็สุข บุคคลใดยอมรับความจริงนี้ได้ รับรู้ทุกข์หรือสุขบนเหตุผล ของสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อทุกข์ก็จะทุกข์ไม่มาก เมื่อสุขก็จะสุขแต่พอควร
สำนวน ฉบับภาษาอังกฤษของ C.H. Brewitt-Taylor ว่า
Domains under heaven, after a long period of division, tends to unite; after a long period of union, tends to divide.
สำนวน ฉบับแปลใหม่ของ วรรณไว พัธโนทัย ว่า
ธรรมดาสรรพสิ่งในใต้ฟ้า เมื่อแยกกันนานๆ ก็กลับเข้ารวมกัน เมื่อรวมกันนานๆ ก็กลับแยกกันอีก
สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้
ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊ กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้
ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้ งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตั วละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว
มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้
1 ความคิดเห็น:
เห็นด้วยเลยครับ
แสดงความคิดเห็น