วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Children & Development

จากแนวคิดของ Kelman ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ

ผมยังมีความเชื่อว่า พฤติกรรมไม่ใช่สันดาน ( http://buabangbai.blogspot.com/2006/12/blog-post.html )

พฤติกรรมอาจเปลี่ยนไปในทางที่เหมาะสมได้ด้วย

1. การบังคับ

2. การเลียนแบบ

3. การเรียนรู้

ผมจึงยังคงเสนอวิธีการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ ด้วยการ ปรับแก้พฤติกรรมตั้งแต่เด็ก ด้วยรูปแบบ การดำเนินการกับเด็กกลุ่มเดิมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะใช้รูปแบบผสมผสาน ทั้งการจัดค่าย การเรียนการสอน การผสมผสานกระบวนการ บังคับ เลียนแบบ เรียนรู้ ผ่านผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สังคม ฯลฯ

แต่จะต้องทำอะไร ทำอย่างไร คงต้องไปใช้เวลา ระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาจมองว่าเป็นการทดลองก็ได้ เพราะเราไม่สามารถทำกับเด็กทั้งหมดได้ แต่ทำได้เท่าไร ก็ดีเท่านั้น ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย แล้วก็เจอะเจอปัญหาเดิมๆ ทั้งปีทั้งชาติ ด้วยคำพูดที่ว่า คนไทยก็เป็นอย่างนี้แหละ

ผมเสนอที่จะปรับเปลี่ยนตั้งแต่ อนุบาล ประถม มัธยม ต่อเนื่องกันไปการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยที่สุด ควรเริ่มที่ ป.1 ต่อเนื่องไปจนถึง ม.6

แต่เนื่องจากระบบโรงเรียนในประเทศเรา แยกชั้น อนุบาล ประถมศึกษา และ มัธยมศึกษา ออกจากกันระบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวจึงอาจติดตามได้ยาก ยกเว้น การทดลองทำในพื้นที่ห่างไกล ที่มีโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส ก็อาจสามารถติดตามได้

หากไม่เช่นนั้น ก็อาจต้องเริ่มในระดับ ม.1 เพื่อสามารถต่อเนื่อง ไปจนถึง ม.6

หรืออันที่จริง เราสามารถปรับทุกระดับชั้นไปพร้อมๆกัน แต่ทำต่อเนื่อง สัก 12-15 ปีนั่นหมายความว่า น้อยที่สุดได้รับการปรับพฤติกรรม 1 ปี (เด็ก ม.6) และ มากที่สุด ที่ได้รับการปรับพฤติกรรมคือ 15 ปี (เริ่มตั้งแต่ อนุบาล)

ช้าๆได้พร้าเล่มงาม Slow But Sure

First Posted by นพ.บุญชัย ธีระกาญจน์ at Tuesday, November 06, 2007 at http://plkhealth.blogspot.com/



ไม่มีความคิดเห็น: