๑๕๖
คั่วถั่วเอากิ่งถั่วมาเป็นฟืนใส่ไฟ
เมล็ดถั่วในกระทะจะไหม้
ก็เพราะกิ่งถั่วต้นรากอันเดียวกันนั่นเอง
เหตุใดจึงเร่งไฟเข้าให้หนักนัก
สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 62
เมื่อโจโฉตาย โจผีขึ้นเป็นเจ้าว่าราชการแทน ฮัวหิมได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีฝ่ายขวา ยุยงให้โจผีลงอาญาโจหิม โจสิดผู้เป็นน้องชายที่ไม่ไปทำการศพโจโฉผู้เป็นบิดา โจหิมตกใจกลัวอาญานักก็ผูกคอตาย ส่วนโจสิดให้เอาตะบองไล่ตีทหารที่โจผีส่งมานั้น โจผีโกรธนักจึงให้จับโจสิดมาจำไว้ ฝ่ายมารดาโจผีทราบข่าวจึงมาร้องไห้อ้อนวอนขอโทษกับโจผี ฮัวหิมยุยงว่า โจสิดคนนี้หลักแหลมอยู่ อันจะไว้ชีวิตนานไปจะเป็นอันตราย อันโจสิดนั้นมีคำเล่าลือว่าทำโคลงดีนัก ควรที่จะเอาตัวมาทำโคลงดู โจผีก็ให้หาตัวโจสิดเข้ามาแล้วสั่งว่า ถ้าโจสิดเก่งจริงจงเดินไปเจ็ดก้าว ว่าโคลงให้ได้เนื้อความในพี่น้อง ให้เอาเนื้อความอื่นมาเปรียบอย่าให้ออกชื่อพี่น้อง ถ้าทำได้จะยกโทษให้ ถ้าทำไม่ได้จะลงโทษถึงตาย โจสิดจึงเดินคิดว่าโคลงได้เจ็ดก้าวก็พอจบ เนื้อความว่า คั่วถั่วเอากิ่งถั่วมาเป็นฟืนใส่ไฟ เมล็ดถั่วในกระทะจะไหม้ ก็เพราะกิ่งถั่วต้นรากอันเดียวกันนั่นเอง เหตุใดจึงเร่งไฟเข้าให้หนักนัก
คนทำงานในองค์กร
ย่อมมีเป้าประสงค์เดียวกัน
คือทำงานให้บรรลุเป้าประสงค์ขององค์กร
คนทำงานในองค์กร จึงดั่งพี่น้องกัน
เกิดจากรากเดียว
แยกภารกิจตามบทบาท กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล
ไม่ช่วยเหลือกัน ก็แล้วกันไป
แต่ถึงกับคิดร้ายทำลายกัน
เหยียบผู้ร่วมงานอื่นเพื่อก้าวต่อไป
ไม่มีใครทำร้ายเราได้เจ็บปวด
เท่าคนในครอบครัวเราเอง
ไม่มีใครทำร้ายเราได้เจ็บปวด
เท่าคนในองค์กรเราเอง
หมายเหตุ 1
โคลง 7 ก้าว ตามสำนวนเดิมของหลอกว้านจง(พร้อมคำอ่านเป็นภาษาแต้จิ๋ว) ว่า
煮豆燃豆萁 จู๋เต่าเหยียงเต่ากี
豆在釜中泣 เต่าต่อฮู้ตงขิบ
本是同根生 ปึ๊งสี่ตั่งกึงแซ
相煎何太急 เซียงเจี๊ยงห่อไท้กิบ
หมายเหตุ 2
ผู้เขียน เคยถอดความไว้เป็น กลอนห้า เลียนสำนวนจีน ความว่า
ต้มถั่วใช้เถาถั่ว
เจ้าเม็ดถั่วครวญขิบ
ต่างเกิดจากรากเดียว
ใยเร่งเคี่ยวกันฉิบ
หมายเหตุ 3
ผู้เขียน เคยถอดความเป็นบทสักวา ความว่า
สักวา ต้มถั่ว ใช้เถาถั่ว
เกลี่ยให้ทั่ว เป็นเชื้อ เพลิงลุกไหม้
เจ้าเม็ดถั่ว ร้องครวญคราง แสนปวดใจ
โอ้ไฉน ช่างคิดร้าย ทำลายกัน
ทั้งเมล็ด เถาต้นใบ ไปจากราก
จะดียาก ล้วนจากพ่อ แม่เดียวนั่น
เหตุใดจึง จ้องล่า ไล่ฟาดฟัน
ไทยทั้งนั้น หันกลับมา ดีกว่าเอย
หมายเหตุ 4
สำนวน C.H. Brewitt-Taylor ว่า
Cooking beans on a fire kindled with bean stalks,
The beans weep in the pot.
Originally born from the selfsame roots,
Why so eager to torture each other
หมายเหตุ 5
สำนวน ยาขอบ ว่า
ชาวบ้านต้มถั่วด้วยเพลิงที่เกิดจากเถาถั่ว
ฉะนั้นจึงมีเสียงคร่ำครวญขึ้นมาจากหม้อที่กำลังต้มถั่วว่า
โธ่ ไฉนเล่าเราเกิดมาจากรากเหง้าอันเดียวกัน
ควรหรือจะมาทำลายข้าพเจ้าด้วยโทสะร้อน
หมายเหตุ 6
สำนวน วรรณไว พัธโนทัย ว่า
เขาต้มถั่วด้วยถั่วเป็นต้นๆ
มันร้อนรนร้องลั่นจากอวยใหญ่
โอ้เกิดหน่อเดียวกันใช่ห่างไกล
เหตุไฉนเข่นฆ่าไม่ปราณี
เกลี่ยให้ทั่ว เป็นเชื้อ เพลิงลุกไหม้
เจ้าเม็ดถั่ว ร้องครวญคราง แสนปวดใจ
โอ้ไฉน ช่างคิดร้าย ทำลายกัน
ทั้งเมล็ด เถาต้นใบ ไปจากราก
จะดียาก ล้วนจากพ่อ แม่เดียวนั่น
เหตุใดจึง จ้องล่า ไล่ฟาดฟัน
ไทยทั้งนั้น หันกลับมา ดีกว่าเอย
หมายเหตุ 4
สำนวน C.H. Brewitt-Taylor ว่า
Cooking beans on a fire kindled with bean stalks,
The beans weep in the pot.
Originally born from the selfsame roots,
Why so eager to torture each other
หมายเหตุ 5
สำนวน ยาขอบ ว่า
ชาวบ้านต้มถั่วด้วยเพลิงที่เกิดจากเถาถั่ว
ฉะนั้นจึงมีเสียงคร่ำครวญขึ้นมาจากหม้อที่กำลังต้มถั่วว่า
โธ่ ไฉนเล่าเราเกิดมาจากรากเหง้าอันเดียวกัน
ควรหรือจะมาทำลายข้าพเจ้าด้วยโทสะร้อน
หมายเหตุ 6
สำนวน วรรณไว พัธโนทัย ว่า
เขาต้มถั่วด้วยถั่วเป็นต้นๆ
มันร้อนรนร้องลั่นจากอวยใหญ่
โอ้เกิดหน่อเดียวกันใช่ห่างไกล
เหตุไฉนเข่นฆ่าไม่ปราณี
สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้
มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้ ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์ แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุ บาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่ านอยู่ได้ตั้งสามจบ
ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊ กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้
ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้ งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตั วละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว
มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น