วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(วันที่โลกแตก)


"เก็บไว้คนเดียวไม่มีประโยชน์"

วันที่โลกแตก
Howard Berk -ศิริพงศ์ ศิริเบญจา

จินตนาการ…ที่อาจจะดีกว่าเขียนเองแบบใช้สมอง ?

เมื่อบอก ChatGPT ว่า…ช่วยเขียนบทความเชิงบริหาร ขนาด 10 บรรทัด หัวข้อ "เก็บไว้คนเดียวไม่มีประโยชน์"…จึงได้จินตนาการที่ ChatGPT เขียนให้ ในเวลาเพียงแค่เลื่อน mouse

หัวข้อ: "เก็บไว้คนเดียวไม่มีประโยชน์"

การเก็บความรู้และประสบการณ์ไว้ในใจของเราเป็นสิ่งที่ดี แต่การเก็บไว้และไม่แบ่งปันกับผู้อื่นไม่มีประโยชน์ต่อการเติบโตของเราและสังคมได้อย่างแท้จริง เมื่อเราเปิดโอกาสให้คนอื่นได้เข้าถึงความรู้ของเรา เราก็ได้รับประโยชน์อย่างมาก เพราะการแบ่งปันนั้นสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและเสริมสร้างชุมชนที่มีความหลากหลายได้ดีขึ้น

การแบ่งปันความรู้ไม่เพียงแค่ทำให้เราเป็นผู้ที่มีคุณค่าและนับถือได้ในสังคม เพราะเรายังสร้างโอกาสและส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่มีความเป็นเลิศ การเปิดโอกาสให้คนอื่นได้เรียนรู้และเจรจาต่อความรู้ของเรายังเป็นการสร้างพื้นที่ให้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น การเก็บความรู้และประสบการณ์เพื่อแบ่งปันกับผู้อื่นไม่เพียงแค่เป็นการกระทำที่ดี เพราะมันเสริมสร้างความเชื่อมั่นและสร้างชุมชนที่เข้มแข็งขึ้นด้วยความหลากหลายและความร่วมมือ


ต้นเรื่อง

วันที่โลกแตก นวนิยายวิทยาศาสตร์อนาคต ที่เล่าเรื่องราวแห่งการพยายามสร้างโลกใหม่ที่สมบูรณ์แบบทางเทคโนโลยี แน่นอนว่าต้องเริ่มด้วยการทดลองให้ผู้คนไปอาศัยอยู่ ตัวเอกของเรื่องจึงถูกลบความจำเดิมทั้งหมด เพื่อไปอาศัยในสวรรค์บนผืนดินใหม่ โลกใหม่จะสำเร็จหรือไม่ อะไรคือสิ่งที่ผิดพลาด

Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้

"เรามีหน้าที่หาทางแก้ปัญหา ไม่ใช่หมกเรื่องไว้"


จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด










วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(ชนเผ่าซูของข้าพเจ้า)


"หลังจากเจ้าฝ่าม่านฝุ่นออกมาได้ ทุกสิ่งก็จะแจ่มกระจ่าง"

ชนเผ่าซูของข้าพเจ้า
ลูเธอร์ แสตนดิงแบร์ : พจนา จันทรสันติ

ในองค์กรที่สับสนวุ่นวาย ย่อมไม่อาจผลิตผลลัพธ์ที่มีคุณภาพได้ตามเป้าหมาย
ในอีกนัยหนึ่ง องค์กรที่ไม่อาจทำงานใดได้สำเร็จ เป็นเพราะองค์กรนั้นสับสนวุ่นวายไม่มีระบบ
ทุกสิ่งอย่างที่พบว่าไม่เป็นระบบ อาจเป็นได้ตั้งแต่โครงสร้าง การบริหารจัดการ ขั้นตอนการทำงาน ฯลฯ 

การจัดระบบ จะทำให้พบได้ว่า
หนึ่งนั้น องค์กรอาจมีปัญหามากมาย ต้องปรับใหญ่แก้ใหญ่จึงจะเอาอยู่
หนึ่งนั้น องค์กรอาจมีปัญหาเพียงเล็กน้อย แก้ไขปรับปรุงเล็กน้อยก็เข้าที่
หรือ องค์กรอาจไม่มีปัญหาใดเลย เพียงแค่สิ่งที่มีอยู่ไม่ไปตามลำดับที่ควรจะเป็น แค่จัดลำดับใหม่

มีแต่การจัดระบบใหม่จึงจะรอดพ้นจากหายนะ


ต้นเรื่อง

ชนเผ่าซูของข้าพเจ้า เป็นเรื่องราวที่ ลูเธอร์ แสตนดิงแบร์ หัวหน้าเผ่าแสตนดิงแบร์ ตั้งใจจะสื่อสารถึงคนขาวให้เข้าใจชีวิตที่แท้จริงของชาวอินเดียนแดง ว่าไม่ใช่อย่างที่คนขาวจินตนาการ


Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้

"จงสละชีพถ้าจำเป็น ทว่าอย่าได้ล้มเหลว"


จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด










วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(มังกรคู่สู้สิบทิศ 10)


"โรคประจำตัวของคนที่ถือดีในภูมิปัญญา นั่นคือเชื่อว่าตัวเองคิดอ่านชาญฉลาดที่สุด"

มังกรคู่สู้สิบทิศ 10
หวงอี้ : น.นพรัตน์

ทุกผู้คนมักเชื่อว่าตนเองชาญฉลาด
แม้คนที่โง่ที่สุด ก็ยังคิดว่าตนเองฉลาด
ไม่เพียงแค่นั้น ทุกผู้คนยังเชื่อมั่นว่าตนฉลาดกว่าผู้อื่น
ขณะเดียวกันก็ไม่ปรารถนาให้ผู้หนึ่งผู้ใดมาดูหมิ่นดูแคลนว่าตนเป็นคนโง่

ในองค์กร
ผู้บริหารทุกคนก็เชื่อว่าตนฉลาดกว่าผู้อื่น และมักแสดงออกถึงความฉลาดอยู่ร่ำไป
เมื่อผู้บริหารแสดงความฉลาด ผู้ปฏิบัติย่อมหยุดที่จะคิด แลงดแสดงความคิดเห็น
หลายครั้งการแสดงความฉลาดกลับกลายเป็นแสดงความโง่เขลาเบาปัญญา

เป็นผู้บริหาร ไม่จำต้องฉลาดเกินผู้อื่นเสมอ แกล้งโง่บ้าง ดีกว่าแสดงความฉลาดอย่างโง่ ๆ เป็นที่โจษจัน


ต้นเรื่อง

มังกรคู่สู้สิบทิศ วรรณกรรมจีนแต่งโดย หวงอี้ ในรูปแบบนิยายอิงประวิติศาสตร์ เป็นเรื่องราวของการก่อตั้งราชวงศ์ถัง ตัวเอกของเรื่องเป็นสองเด็กกำพร้าแห่งเมืองหยางโจว โค่วจง และ ฉีจื่อหลิง ใช้ชีวิตจากการเป็นอันธพาล ลักเล็กขโมยน้อย ต่อมาฟ้าประทานให้ทั้งสองได้รับเคล็ดวิชา จนสามารถรวบรวมสมัครพรรคพวกเป็นกองกำลังเข้าร่วมกระบวนการชิงแผ่นดิน ไม่ว่าเรื่องราวจะหนักหนาสาหัสถึงกับต้องแลกด้วยชีวิตปานใด คุณธรรมก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่สองสหายยึดมั่น มังกรคู่สู้สิบทิศ แบ่งออกเป็น 2 ภาค  ภาคแรก มังกรคู่สู้สิบทิศ 10 เล่ม และภาค 2 มังกรคู่สู้สิบทิศ ภาคสมบูรณ์ 11 เล่ม


Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้

"คนมักคิดหวังโชคช่วย"

"ผู้บัญชาการที่ปราชัย ไม่พึงอวดความกล้าหาญอีกต่อไป"

"พิชิตชัยไม่ลำพอง พ่ายแพ้แต่ไม่ท้อถอย"

หมายเหตุ
จินตนาการจากเพื่อนเฟสบุ้คบางคน

@พงษ์ศักดิ์ ฉิ่งสุวรรณโรจน์
พวกถือดี เป็นพวกติดกับดัก”อัตตา” ที่ผยองลำพองตัวตน

@สุธาทิพย์ จุลบุตร
ถือดีกับน้ำล้นแก้ว เหมือนกันมั้ย


จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด








วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(10 นักสร้างสรรค์ ประสบการณ์งานสร้างสุข)


"ผมเลือกเรียนเวชศาสตร์ครอบครัว เพราะมันเป็นวิชาที่ต้อง จัดการความทุกข์ให้กับคน"

10 นักสร้างสรรค์ ประสบการณ์งานสร้างสุข
เยาวลักษณ์ ชีพสุมล

ปกติขององค์กรใดองค์กรหนึ่งย่อมประกอบด้วยผู้บริหารแลผู้ปฏิบัติ
โดยนัยมักเรียกผู้บริหารว่าเป็นผู้นำ

ผู้นำคือ ผู้ที่มีศักยภาพหรืออิทธิพลที่จะสามารถโน้มน้าวหรือชี้นำให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม
ผู้นำยังมีหน้าที่แก้ปัญหาในองค์กร

ความทุกข์ของผู้ปฏิบัติงานในองค์กรคือ งานสำเร็จไม่ทันเวลา หรือไม่บรรลุความสำเร็จ หรือสำเร็จแบบไม่มีคุณภาพ แต่ละประเด็นย่อมมีปัจจัยสาเหตุที่แตกต่าง ผู้นำจึงมีหน้าที่สนับสนุนเพื่อมิให้มีปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหา และผู้นำมีหน้าที่ช่วยแก้ไขปัญหา

ผู้นำบางคนมิเพียงไม่คอยช่วยสนับสนับสนุน มิเพียงไม่ช่วยแก้ปัญหา แต่กลับคอยกดดัน ซ้ำเติม ลืมตัวว่านั่นคือปัญหาขององค์กรที่ตนรับผิดชอบ ผู้ปฏิบัติงานมิใช่ศัตรูคู่แข่งนะเออ…


ต้นเรื่อง

10 นักสร้างสรรค์ ประสบการณ์งานสร้างสุข เป็นหนังสือของสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เป็นนำเสนอบุคคล 10 คนที่ยืนหยัดทำงานตามอุดมคติด้วยความทุ่มเทในการพยายามสร้างสุขให้คนในองค์กร

Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้

"ทุกอย่างไม่มีความบังเอิญ "

"ทำครั้งที่สองนั้นดีกว่าครั้งแรก แม้ไม่ดีที่สุด พอทำครั้งที่ห้าก็ดีขึ้น "

"คือถ้าลับก็แปลว่าเป็นเรื่องไม่ดี"


จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด








วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใดดินแดนแสนประหลาด ตอน นครเหลาะแหละ)


"โครงการที่เพิ่งสั่งไปสัปดาห์ก่อน ระงับไว้ก่อนนะ เพิ่งคิดโครงการใหม่ออก"

ดินแดนแสนประหลาด ตอน นครเหลาะแหละ
วรางคณา กฤตสัมพันธ์

ปกติขององค์กรใดองค์กรหนึ่งย่อมประกอบด้วยผู้บริหารแลผู้ปฏิบัติ
โดยนัยมักเรียกผู้บริหารว่าเป็นผู้นำ

ผู้นำคือ ผู้ที่มีศักยภาพหรืออิทธิพลที่จะสามารถโน้มน้าวหรือชี้นำให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม
ผู้นำจึงเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม นำความคิดสู่การปฎิบัติที่หวังผลลัพธ์ตามเป้าหมายขององค์กร

ผู้นำนักคิดมีได้สองประเภท
หนึ่งคือ ผู้นำที่คิดรอบครอบ เมื่อสั่งการสู่การปฏิบัติแล้ว จะเกาะติดจนกว่างานจะสำเร็จ 
หนึ่งคือ ผู้นำที่เปลี่ยนแปลงข้อสั่งการบ่อย คิดเก่งสั่งเก่ง สั่งได้สั่งดี ตัวชี้วัดก็เยอะ จนผู้ปฏิบัติหัวปั่นต่อการปรับเปลี่ยนทั้งที่เพิ่งเริ่มงานหรือยังไม่ทันได้เริ่มงาน จึงไม่มีงานใดสำเร็จเป็นเรื่องเป็นราว

ผู้นำประเภทนี้มักคิดว่าตนเก่งกาจมีความคิดที่โลดแล่น แท้จริงเป็นผู้นำจับจด ผู้นำเหลาะแหละ ที่ผู้ปฏิบัติล้วนเอือมระอา


ต้นเรื่อง

ดินแดนแสนประหลาด เป็นหนังสือนิทานประกอบรูปภาพ ดินแดนแปลก ๆ 4 นคร เรื่องราวสนุกสนาน มีคติเตือนใจตามแบบฉบับของนิทาน ตอน นครเหลาะแหละ เป็นเรื่องราวของ พระเจ้าจับจด ที่คิดโครงการดี ๆ มากมาย แต่ไม่เคยดำเนินการสำเร็จแม้แต่โครงการเดียว

Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้

"เมื่อพบอุปสรรคยากลำบากคนเหลาะแหละจะใช้ปากพูด"

หมายเหตุ
จินตนาการจากเพื่อนเฟสบุ้คบางคน

@Pongpot Theeranantachai
มีโครงการใหม่มา โครงการเก่าก็ไม่เลิก


จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด















วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(ปาฏิหาริย์ร้านชําของคุณนามิยะ)


"เมื่อไหร่จะเลิกฝันซะที โลกนี้มันไม่ง่ายขนาดนั้นหรอกนะ"

ปาฏิหาริย์ร้านชําของคุณนามิยะ
ฮิงาชิโนะ เคโงะ-กนกวรรณ เกตุชัยมาศ

การทำงานใด ผู้คนอาจเริ่มจากฝัน
แต่ฝันคือการนึกเห็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.ฝันจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีหนทางจะเป็นจริง
จำต้องแปรความฝันให้เป็นจินตนาการ

จินตนาการ อยู่บนพื้นฐานของหลักการ ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ผนวกกับประสบการณ์ 
จินตนาการจึงเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เป็นจริงได้

ฝันง่าย จินตนาการยาก
ผู้คนส่วนใหญ่จึงทำได้แค่เพียงฝัน 
ผู้บริหารก็เฉกเช่นคนส่วนใหญ่ มีแต่นโยบายขายฝัน


ต้นเรื่อง

ปาฏิหาริย์ร้านชําของคุณนามิยะ เป็นอีกเล่มของ ฮิงาชิโนะ เคโงะ นักเขียนเบสต์เซลเลอร์ชาวญี่ปุ่น ที่รู้จักกันในนิยายวรรณกรรมแนวไขรหัสคดี สืบสวนสอบสวนและเรื่องราวลึกลับ เล่มนี้ เป็นเรื่องราวของหัวขโมยสามคนเข้าไปในร้านชำร้างในคืนวันหนึ่ง ได้พบจดหมายลึกลับส่งมาปรึกษาปัญหาชีวิตทางช่องประตู หัวขโมยนึกสนุกจึงเขียนจดหมายตอบ แต่พบว่าจดหมายตอบนั้นหายไป เรื่องราวจึงกลายเป็นเรื่องลึกลับที่น่าติดตาม

Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้

"เชื่อผมเถอะครับ ไม่ว่าตอนนี้หนทางจะมืดมนแค่ไหน แต่พรุ่งนี้จะต้องเป็นวันที่ยอดเยี่ยมกว่าวันนี้อย่างแน่นอน"

หมายเหตุ
จินตนาการจากเพื่อนเฟสบุ้คบางคน

@Amm O Sanguan
ความฝันทำให้เรามีแรงบันดาลใจ


จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด











วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567

จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด(เหมือนพายุจะมา)


"นิทานบางเรื่องก็ไม่มีอะไรสอนเลย"

เหมือนพายุจะมา
อนุสรณ์ มาราสา

ในองค์กร ย่อมประกอบด้วยผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
ผู้บังคับบัญชา คือผู้ที่มีบทบาทในการบริหารจัดการในองค์กรด้วยความรู้แลประสบการณ์ที่มากกว่า

ผู้บังคับบัญชาจึงนอกจากจะมีบทบาทหน้าที่บังคับบัญชาแล้ว ยังมีหน้าที่สอนหรือให้ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ ให้นำแนะนำ แก้ไขข้อผิดพลาด แก้ปัญหาให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอีกด้วย
ผู้บังคับบัญชาที่ดีจึงต้องสอนเป็น หากจะสั่งก็ต้องสั่งเป็น

ผู้บังคับบัญชาบางคนไม่สอนเพราะ สอนไม่เป็น แม้มีความรู้มีประสบการณ์มาก แต่สอนไม่เป็น ที่สอนไม่เป็นเพราะไม่เคยให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชา เอาแต่สั่ง ยึดแต่ตนเองเป็นหลัก สามารถแก้ไขปรับปรุงได้เพียงแค่ รู้จักฟังผู้อื่น

ผู้บังคับบัญชาบางคนไม่สอนเพราะ ไม่มีอะไรจะสอน คือไม่มีทั้งความรู้ไม่มีทั้งประสบการณ์ในงานที่ตนบริหาร เรียกได้ว่า ไม่มีสมอง 

โชคร้ายที่องค์กรส่วนใหญ่มักเจอะเจอผู้บังคับบัญชาที่ไม่มีอะไรจะสอน แต่ชอบสอน


ต้นเรื่อง

เหมือนพายุจะมา ผลงานรวมเรื่องสั้นของ อนุสรณ์ มาราสา นักเขียนรางวัล ช่อปาริชาติ สุภาว์ เทวกุล และ พานแว่นฟ้า เรื่องราวส่วนใหญ่สะท้อนชีวิตชุมชนในภาคใต้ของประเทศไทย ทั้งวิถีชีวิตวิถีชุมชน ขณะที่ความทันสมัยกำลังโถมเข้าไปสู่วิถีเดิม  

Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้

"ผู้มาก่อนย่อมไปก่อน เท่านั้นเอง"

"ในความมืดยังปรากฏสีดำให้เห็น แต่สีในใจของคนไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าได้เลย"

"ไม่มีเด็กคนไหนไม่ชอบนิทาน"

"ปัญหายาก ๆ บางครั้งก็แก้ได้ง่าย ๆ"


จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด