"คนที่กล่าวโป้ปด หากไม่ใช่เพื่อประจบฝ่ายตรงข้าม
ก็เพื่อปกป้องตนเอง"
ตะขอจำพราก
โกวเล้ง-น.นพรัตน์
โป้ปด คือ จงใจกล่าวคำที่ไม่จริง
หากบางครั้งการโป้ปดกลับช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
หลายครั้ง คนจึงจำเป็นต้องโป้ปด
ทุกครั้ง คนจึงอ้างความจำเป็นในการโป้ปด
คนโป้ปด กระทำไปเพราะเหตุสองประการ
หนึ่งคือ เพื่อเอาตัวเองให้รอดจากสถานการณ์
หนึ่งคือ เพื่อเอาอกเอาใจผู้อื่น
เอาอกเอาใจผู้อื่น ย่อมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
คนโป้ปด จึงโป้ปดเพียงเพราะเหตุเดียว
โป้ปด เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
คำเยินยอ คือคำยกย่องเกินความจริง
คำเยินยอ จึงเป็นคำโป้ปดชนิดหนึ่ง
ต้นเรื่อง
ชุดอาวุธของโกวเล้ง เป็นนวนิยายรวม 7 เรื่อง ว่ากันว่าโกวเล้งตั้งใจเขียนเพียง 2 เรื่องในชุดเท่านั้น คือ กระบี่อมตะ และ เดชขนนกยูง แล้วหยุดเขียนไป แต่กระแสส่วนใหญ่อ้างอิงจากภาพยนตร์โทรทัศน์และหนังสือจึงจัดชุดอาวุธของโกวเล้งเป็น 7 เรื่องราวประกอบด้วย
กระบี่อมตะ สำนวน ว. ณ เมืองลุง (สำนวน น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า กระบี่ยั่งยืนยาว) ; เดชขนนกยูง สำนวน ว. ณ เมืองลุง (สำนวน น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า ขนนกยูง) ; ดาบมรกต ; แค้นสั่งฟ้า ; ยอดมือปราบ ; ตะขอจำพราก และ ทวนทมิฬ
กระบี่อมตะ สำนวน ว. ณ เมืองลุง (สำนวน น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า กระบี่ยั่งยืนยาว) ; เดชขนนกยูง สำนวน ว. ณ เมืองลุง (สำนวน น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า ขนนกยูง) ; ดาบมรกต ; แค้นสั่งฟ้า ; ยอดมือปราบ ; ตะขอจำพราก และ ทวนทมิฬ
บางท่านบอกว่า สาระของอาวุธทั้งเจ็ดของโกวเล้งมิได้อยู่ที่ตัวอาวุธ หากแต่เป็นการบอกเล่าบุคลิกนิสัยที่แตกต่างของมนุษย์ในยุทธจักร จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตาม
ตะขอจำพราก เป็นเรื่องของ เอี้ยเจ็ง ที่ไม่ใช้วิชายุทธมาตรฐาน หากแต่ใช้มวยวัดในการจัดการผู้ร้าย สุดท้ายใช้อาวุธประหลาดรูปทรงตะขอ เรียกว่า ตะขอจำพราก ที่สุดท้ายถึงกับใช้จัดการกับตัวเอง
ตะขอจำพราก เป็นเรื่องของ เอี้ยเจ็ง ที่ไม่ใช้วิชายุทธมาตรฐาน หากแต่ใช้มวยวัดในการจัดการผู้ร้าย สุดท้ายใช้อาวุธประหลาดรูปทรงตะขอ เรียกว่า ตะขอจำพราก ที่สุดท้ายถึงกับใช้จัดการกับตัวเอง
จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น