เอ๋ย สักวา ๗๐
สักวา เหมือนขึ้น ขี่หลังเสือ
อำนาจเหนือ ควบคุม ทุกสิ่งได้
แท้จริง ทุกข์ทน ด้วยเกรงภัย
ตะปบใส่ ทันใด เมื่อลงมา
ดั่งมาตรการ ควบคุม โรค COVID
ไม่ยั้งคิด ปิดสนิท ทุกท่วงท่า
สอนให้กลัว ไม่เตรียมภูมิ- รู้ประชา
ปิดเลิกลา จะระบาด-เอา ไม่อยู่เอย
ขณะที่มาตรการป้องกันการติดต่อของโรค COVID-19 เป็นไปอย่างเข้มข้น
หลายแห่งหลายพื้นที่ ไม่ทบทวนหลักวิชาการ ป้องกันแบบ ขี่ช้างจับตั๊กแตน
อาจป้องกันโรคได้ แต่ก็ไม่คุ้มกับ ทรัพยากร กำลังคน และเวลา
ที่สำคัญไม่คุ้มกับ โอกาส Health Literacy ที่ประชาชนควรได้รับ
ไม่ใช้โอกาสที่มีค่า ทบทวนมาตรการให้เป็นไปตามหลักวิชาการ
ไม่ใช้โอกาสที่มีค่า ให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน เตรียมการประชาชน
เหมือนขึ้นขี่หลังเสือ
ครบกำหนดมาตรการ 14 วัน 30 วัน
ถ้าไม่เตรียมตัวลงหลังเสือแบบปลอดภัย
ก็ได้แต่ ทนอยู่บนหลังเสือต่อไป ประกาศมาตรการเข้มข้นต่อไป
ในที่สุด ประชาชนก็จะทนอยู่บนหลังเสือต่อไปไม่ได้
โดดลงจากหลังเสือโดยไม่เตรียมการ
เสือโควิดจะตะปบหัว
แล้ววันนั้นจะเอาไม่อยู่
หมายเหตุ
ประชาชนต้องเข้าใจ Host Agent Environment
ประชาชนต้องเข้าใจ Primay Prevention , Secondary Prevention , Tertiary Prevention
ประชาชนต้องรู้เหตุผลมาตรการต่าง ๆ ว่าทำเพื่ออะไร
อะไรจำเป็นต้องทำ อะไรเป็นมาตรการกำกับสังคม
โรค COVID-19 ติดต่ออย่างไร
ทำไมต้องล้างมือ
ทำไมต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย
ทำไมต้องรักษาระยะห่างระหว่างกัน
ทำไมต้องวัดไข้
ทำไมต้องกักตัว
ทำไมเดินทางไม่ได้
ทำไม ทำไม ทำไม
ไม่รู้แล้วจะป้องกันตัวอย่างไร เมื่อหยุดมาตรการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น