อันธรรมดานกจะทำรังก็ย่อมแสวงหาซึ่งพุ่มไม้ชัฏจะได้ทำรังอยู่เป็นสุข
ถึงลมพายุใหญ่จะพัดหนักมา รังนั้นก็มิได้เป็นอันตราย
ประการหนึ่งเป็นชาติทหาร จะหาแม่ทัพ
ก็ให้พิเคราะห์ดูผู้ใจโอบอ้อมอารี แลชำนาญในการสงคราม...
ก็ให้พิเคราะห์ดูผู้ใจโอบอ้อมอารี แลชำนาญในการสงคราม...
ถ้าผู้ใดพบนายที่มีสติปัญญาหมายจะพึ่งได้แล้วไม่เข้าทำราชการด้วย
อย่าให้คนทั้งปวงนับถือความคิดผู้นั้นเลย
สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 12
เอียวฮอง หันเซียม ซิหลง นำทัพขวางทางโจโฉมิให้เชิญเสด็จพระเจ้าเหี้ยนเต้
ออกจากเมืองลกเอี๋ยงไปเมืองฮูโต๋ โจโฉอยากได้ตัวซิหลงไว้เป็นทหาร
จึงส่งหมันทองซึ่งคุ้นเคยกับซิหลงมาก่อนไปหว่านล้อมซิหลงให้ทิ้งเอียวฮองและหันเซียม
ไปสวามิภักดิ์กับโจโฉ โดยยกเอาความมีฝีมือและน้ำใจของโจโฉมาอ้างอิง
นกยังรู้จักเลือกสถานที่ทำรัง เพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิตและครอบครัว
คนทำงานควรมีโอกาส เลือกหัวหน้า เลือกผู้บังคับบัญชา แต่ก็มักไม่ค่อยมีโอกาส เพราะหากเลือกมากมีหวังตกงาน หรือไม่ได้รับการมอบหมายงานที่ดี
หากเลือกได้ทุกคนก็อยากเลือกหัวหน้า ที่ดี มีคุณธรรม
แม้ไม่ได้เลือก แต่จับพลัดจับผลูได้พบเจอหัวหน้าที่ดี ให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็น ให้โอกาสสร้างสรรงาน ถ้าไม่ใช้โอกาส แล้วจะโทษใคร
แม้ไม่ได้หัวหน้าดีดังที่คิด แต่หัวหน้าย่อมไม่อาจเปลี่ยนใหม่ได้ดั่งใจ ก็ เลือกเฉพาะส่วนดี ของหัวหน้าแล้วเร่งรีบสร้างผลงาน
หากหัวหน้าไม่มีอะไรดีเลย ก็ยังมีคุณค่าให้เรา เปรียบเทียบ ความดีของตัวเรา
บางคนมุ่งเน้นเลือกหัวหน้าที่จะสามารถให้ผลประโยชน์ได้ ซึ่งแน่นอนว่า ก็ต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบกลับคืนเช่นกัน
สำนวน ฉบับภาษาอังกฤษของ C.H. Brewitt-Taylor ว่า
But you know the prudent bird selects its tree, and the wise servant chooses his master. When one meets a worthy master and lets him go, one is very reckless.
สำนวน ฉบับแปลใหม่ของ วรรณไว พัธโนทัย ว่า
ธรรมดานกรู้ ย่อมเลือกต้นไม้อยู่ บ่าวที่ฉลาดย่อมเลือกนาย คนที่พบนายดีแล้วยังไม่ไยดี จะเอาดีได้อย่างไร
สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้
ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊ กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้
ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้ งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตั วละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว
มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น