อุปมาดังเรือน ถ้าจะรื้อลงนั้นง่าย ซึ่งจะปลูกสร้างนั้นยากนัก
สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 5
เมื่อตั๋งโต๊ะยกทัพเข้ามาปราบขันทีทั้งสิบตามคำเชิญของโฮจิ๋น ได้โอกาสยึดอำนาจ
ถอดหองจูเปียนออกจากราชสมบัติ แล้วยกหองจูเหียบขึ้นครองราชสมบัติ ถวายพระนามพระเจ้าเหี้ยนเต้
ตั๋งโต๊ะตั้งตัวเป็นพระยามหาอุปราช ต่อมาดำริจะย้ายเมืิองหลวงจากเมืองลกเอี๋ยงไปเมืองเตียงฮัน
เอียวปิวเกรงว่าประชาราษฎรจะได้รับความเดือดร้อน จึงกล่าวเตือนตั๋งโต๊ะให้นึกถึงคำโบราณ
แต่ละองค์กรย่อมมีความเป็นมา แนวคิดแนวปฏิบัติในองค์กรก็ย่อมต้องมีที่มา
ก่อนจะเปลี่ยนแปลงสิ่งเก่าที่มีผู้วางระบบไว้ก่อนหน้า จึงควรศึกษาให้รอบคอบ
รื้อระบบเดิมทิ้งนั้นง่ายดายยิ่ง แต่การสร้างระบบใหม่ยากเย็นแสนเข็น
สร้างบ้านใหม่หนึ่งหลัง ใช้ทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเวลา
รื้อบ้านทิ้ง ระหว่างรอสร้างบ้านใหม่จะไปอยู่ทีไหน
ทำไมไม่ลองใช้วิธี ดีดบ้าน บ้านต่ำดีดให้สูงขึ้นหนีน้ำได้ ขณะที่ยังมีที่พักพิงในระหว่างดีดบ้าน
เสริมระบบเดิมให้เข้มแข็ง แข็งแรง ทำงานต่อยอดจากของเดิม
อ้อ ระวัง ผู้รับเหมาทิ้งงาน บ้านลอยเท้งเต้ง ระบบปรับไปแล้ว คนปรับหนีไปแล้ว กินไม่เข้าคายไม่ออก
สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้
ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊ กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้
ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้ งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตั วละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว
มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้
2 ความคิดเห็น:
ติดตามอ่านมาหลายตอน
ชอบตรงที่ชัดเจน สั้นๆ กระชับ แต่ได้ข้อคิดมาก
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น