วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เยี่ยมๆมองๆ รพ.สต.ดงมูลเหล็ก

วันอังคารที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔


เดิมตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมรพ.สต.ที่อยู่ไกลๆก่อน แต่ก็ให้บังเอิญวันนี้มีภารกิจตอนบ่ายในอำเภอเมือง จึงเปลี่ยนเป้าหมายเดิมที่ตั้งใจจะไปเยี่ยมรพ.สต.ในเขตอำเภอน้ำหนาว เป็นเยี่ยมรพ.สต.ใกล้ๆแทน
รพ.สต.ดงมูลเหล็ก จึงเป็นแห่งแรกของอำเภอเมืองที่ได้ไป เยี่ยมๆมองๆ
รพ.สต.ดงมูลเหล็กอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ ๖ กม.เดินทางจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพียง ๑๐ นาที


รพ.สต.ดงมูลเหล็ก เป็นรพ.สต.ที่ออกแบบได้สวยงาม เหมือนเดินเข้าไปในโรงแรมห้าดาว ทั้งมุม ลงทะเบียน ห้องตรวจ จุดรอ จุดรับยา ดูสวยงาม ก็ได้แต่หวังว่า คงไม่ใช่สวยแต่รูป การบริการคงจะดีตามไปด้วย (ไม่ได้ซักถามในรายละเอียดการเงินการคลัง แหล่งงบประมาณในการตบแต่ง) ขณะไปเยี่ยมชมกำลัง ทำรั้ว แต่งบ้านพัก ที่ไม่มีเจ้าหน้าที่พัก ให้เป็นจุดบริการทันตกรรมและแพทย์แผนไทย สำหรับ unit ทำฟัน มีแค่ unit สนาม ทำได้แค่ถอนฟัน ๖ ชุดต่อวัน (เมื่อกลับมาเช็คข้อมูลจึงทราบว่าจะได้จากงบค่าเสื่อมปี ๒๕๕๔)



รพ.สต.ดงมูลเหล็ก รับผิดชอบพื้นที่ ๑๑ หมู่บ้าน ประชากรประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน จึงมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบค่อนข้างมากดังนี้


คุณวิรัชฎา มะมา นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ  จบพยาบาลเวชปฏิบัติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการ รพ.สต
    คุณวิรัชฎาซึ่งติดประชุม ไม่ได้พบในวันนี้ รู้สึกจะเป็นเป็นคนที่ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความชื่นชม เคยได้รับรางวัล สตรีไทยดีเด่น จ.เพชรบูรณ์ ปี ๒๕๕๓ ดูจากการตกแต่งรพ.สต.สวยงาม ก็น่าจะเป็นคนมีหัว creative ตามที่น้องๆเล่าให้ฟัง ว่า หัวหน้าเป็นคนคิด (เมื่อตามไปดูรูป Facebook แค่ชุด ก็ดูจะไม่ผิดไปจากความจริง)

คุณสุวิทย์ มะมา นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ (เห็นนามสกุลก็พอจะเดาได้ว่าเป็นอะไรกันกับ ผอ.)
คุณวิชุตา ทองปาน เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (ตำแหน่งจ้างเงินบำรุง)
คุณจริยา บางณรงค์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข (คุณจริยา ได้เคยเจอกันมาก่อนหน้านี้ เมื่อเริ่มทำงานไปบรรจุที่ รพ.สต.วังเตย อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ย้ายมาเพชรบูรณ์ เมื่อพฤศจิกายน ๒๕๕๓
คุณฉัตรดาว อิธิตา นักการแพทย์แผนไทย (คุณฉัตรดาวเพิ่งมาทำงานได้ไม่นาน เรียนจบ วท..(แพทย์แผนไทยประยุกต์จาก มหาวิทยาลัยนเรศวรงานแพทย์แผนไทยของรพ.สต.ดงมูลเหล็ก มีผู้ช่วยแพทย์แผนไทย(หมอนวดแผนไทย อบรม ๓๓๐ ชั่วโมงอีก ๕ คน ทั้งหมดทำงานแบบรับค่านวด ๖๐ ไม่มีเงินเดือน มีคนไข้มาใช้บริการวันละประมาณ ๑๐ คน เก็บค่านวดผู้ป่วยครั้งละ ๒๐๐ บาท (ดูแล้วไม่ค่อยแน่ใจ ว่าจะมีรายได้พอเพียงหรือไม่ เพราะยังไม่ค่อยสัมพันธ์กัน คงต้องลองดูจากข้อมูลที่บันทึกไว้อีกครั้ง )
คุณวิลัยวรรณ โชคชัย นักวิชาการสาธารณสุข (ตำแหน่งจ้างจบ สบจาก วิทยาลัยนครราชสีมา
คุณปราณี รุ่งมี พนักงานทำความสะอาด

เจ้าหน้าที่รพ.สต.ยืนยันว่าผลัดกันมาทำงานอยู่เวรที่รพ.สต.ในวันหยุดราชการ ไม่ได้รับ OT แต่ก็ยินดีและเต็มใจ 
มี Internet ใช้ที่ความเร็ว 8 M (เร็วกว่าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแยะมี Web Cam แต่ไม่เคยใช้เลย (ยังต้องตามดูระบบการปรึกษาแพทย์โรงพยาบาลเพชรบูรณ์)

ปัญหาสำคัญของรพ.สต.นี้ คือ
๑. การโอนเงินผ่าน CUP ช้า 
    (ชอบ CUP กันจัง  อ่าน
    ภาษาไทยนานๆคำ http://buabangbai.blogspot.com/2011/04/blog-post_7.html  และ
    ภาษาอังกฤษไม่ยากอย่างที่คิด http://buabangbai.blogspot.com/2011/04/blog-post_6.html ) 

๒. ไม่ได้ใช้ Computer ในการเก็บข้อมูล เพราะ จังหวัดเองไม่รับรายงาน Electronic ต้องรายงานเป็นกระดาษ เมื่อมานิเทศก็ขอดูกระดาษ (อันนี้ต้องตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ใครโบราณกว่ากัน ระหว่าง คนตำบลกับคนจังหวัด)

งานเด่นที่ภาคภูมิใจ
๑. ชนะการประกวดสถานีอนามัยดีเด่นระดับจังหวัด เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ , ๒๕๔๕ , ๒๕๕๐ 
๒. กองทุนสขภาพดีเด่น ระดับประเทศ และ รางวัลอื่นๆอีกเยอะ ๑๐ ปีที่ผ่านมาประมาณ ๓๐ รางวัล

โพสต์ครั้งแรกเมื่อ 

ไม่มีความคิดเห็น: