"ไม่ควรแลดูสิ่งใด ๆ แต่เพียงเท่าที่ตาเห็น"
คดีลึกลับแห่งมหานคร
วิลเลียม เลอ คิวซ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
คนเรารับข้อมูลจากหลายช่องทาง
มุมมองทางร่างกาย คนเรารับข้อมูลจาก การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส และการสัมผัส
มุมมองทางชีวิตความเป็นอยู่ คนเรารับข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ จากช่องทางใด ๆ ในสังคม ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
มุมมองทางหน้าที่การงาน คนเรารับข้อมูลจากบทบาทหน้าที่ของตน จากผู้บังคับบัญชา จากผู้ใต้บังคับบัญชา จากผู้ร่วมงาน จากผู้เกี่ยวข้อง และจากผู้ไม่เกี่ยวข้อง
เมื่อรับข้อมูลจากหลายช่องทาง สุดท้ายต้องนำทุกข้อมูลที่รับเข้ามา แล้วประมวลผลด้วย จิตใจ ให้เป็น การรับรู้
การรับรู้จึงคือ การยืนยันว่ารู้ รับว่ารู้ และรับผิดชอบในสิ่งที่รู้
หลายคนรับได้แต่ข้อมูล แต่ไม่อาจประมวลผลเป็นการรับรู้ ไม่รับรู้ใด ๆ
จึงเป็นแค่ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส แต่ไม่รับรู้ เรียกว่า พวกไร้จิตใจ ไร้จิตวิญญาณ
ต้นเรื่อง
คดีลึกลับแห่งมหานคร เป็นนวนิยายแปลที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์แปลจาก Mysteries of a Great City ของ วิลเลียม เลอ คิวซ์ เป็นเรื่องราวของมหานครปารีสมีคดีลึกลับเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้มองซิเออร์ราอูล เบค รองอธิบดีกรมตำรวจลับแห่งฝรั่งเศส พร้อมด้วยโรแคร์และชาเลลลูกน้องคนสนิทต้องสืบสวนเพื่อคลี่คลายคดีอันลึกลับซับซ้อนนั้น
Quote ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้
"ชายหรือหญิงใด ๆ ก็สามารถจะซ่อนความปรารถนาของตนได้ถ้าเป็นคนฉลาดจริง"
"ไม่มีอะไรแน่นอนเลยในชีวิตเรานี้"
"คนเราทุกคนอาจจะถูกยั่วยวนเช่นนั้นครั้งหนึ่งในชีวิตนะขอรับ"
หมายเหตุ
จินตนาการจากเพื่อนเฟสบุ้คบางคน
@Suriya Sathienkit-umpai
สิ่งไม่รู้ ไม่เห็นมีเป็นอนันต์ อย่าประเมินเพียงเท่าที่เห็น
จินตนาการจากการอ่าน ช่างเพริศแพร้วยิ่งกว่าสิ่งใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น