ศาสตราจารย์นายแพทย์ ฟรังค์ เพเทอร์ เชลพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาพบผู้เขียนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2552 (ขณะอยู่หนองบัวลำภู) เพื่อเสนอโครงการใช้ Hb A 1c เป็นตัว screening ภาวะเบาหวาน นอกเหนือไปจากใช้ค่า Fasting Blood Sugar ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์หลายอย่าง
(ไม่ต้องสงสัย ศ.นพ.ฟรังค์ พูดภาษาไทยครับ)
ท่านทำงานร่วมกับประเทศไทยมานาน รู้จักวงการสาธารณสุขไทยเราดี พอผู้เขียนเอ่ยถึง ปัญหาขาดสารไอโอดีน ท่านก็บอกว่า อ๋อ อาจารย์อารี วัลยะเสวี ทำไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว แล้วก็หยุดไป ไม่มีใครทำต่อ
พอพูดเรื่อง พยาธิใบไม้ในตับ ท่านก็บอกว่า เราไม่เอาจริง รณรงค์แบบ ทำๆหยุดๆ ท่านเล่าว่าต่อให้หยุดกินดิบไปเป็นสิบปี ก็ยังพบพยาธิได้ เพราะท่านตรวจพบไข่พยาธิในคนไทยอีสาน ที่ไปอยู่เยอรมันมานานเป็นสิบปี (แต่ท่านอาจไม่รู้ว่า คนไทยเราเอาปลาร้าส่งไปกินดิบๆที่เมืองนอกได้)
ท่านเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบงานสาธารณสุขไทยกับเยอรมัน ให้ผู้เขียนฟัง ว่า
ประเทศไทย ดีกว่า เยอรมัน ตรงที่มี ระบบ Active Screening และ ระบบติดตามผู้ป่วย แต่...เมื่อพบแล้ว รอไม่รีบ
(คำนี้ ศ.นพ.ฟรังค์ พูดเป็นภาษาไทยอย่างชัดถ้อยชัดคำ คนไทย รอ ไม่รีบ)
คนไทยเป็นคนที่ ค้นพบปัญหาได้เร็ว แต่ รอไม่รีบ
ปล่อยให้ปัญหานั้นลุกลาม แล้วค่อย ร้อนรน (คำนี้ผู้เขียนว่าเอง..อิอิ)
[โพสต์ครั้งแรกที่ Gotoknow Blog Office 18 เมษายน 2554 16:07 ]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น