การแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน จะสำเร็จได้จาก การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Participatory) ที่มีค่านิยมร่วมในการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management Value) และการบูรณาการ (Integration) กระบวนการบริหาร วิชาการ ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศ บนพื้นฐานของการจัดการระบบที่ดี (Systemic Management) และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน (Style of Life) [P R I S S]
ปัญหาด้านสุขภาพ เป็นปัญหาที่เกิดจากปัจจัยหลายปัจจัย การแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจึงไม่อาจใช้เพียงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หากต้องเกิดจากการ ร่วมคิด ร่วมวางแผน แล ะร่วมแก้ไข ตลอดจน ร่วมประเมิน จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างจริงจัง จึงจะสำเร็จได้
ในอดีตที่ผ่านมา แนวความคิดด้านการบูรณาการได้ถูกยกนำมาเป็นแนวทางโดยตลอด แต่เนื่องด้วย ไม่สามารถบริหารจัดการให้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ได้เข้ามามีส่วนร่วม หรือแม้แต่จะรู้บทบาทตนเองว่าเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การจัดการในการมีส่วนร่วม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสามารถทำให้องค์กรต่างๆตลอดจนประชาชน มีค่านิยมร่วมกัน ที่จะมุ่งไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของการมีสุขภาพดี โดยไม่ยึดติดกับกระบวนการ ไม่ยึดติดกับแนวคิดว่า หน้าที่ในการดูแลสุขภาพเป็นของหน่วยงานสาธารณสุขเท่านั้น
หากสามารถบูรณาการปัญหาต่างๆของประชาชน ไม่แก้ปัญหาแบบแยกส่วน และบูรณาการหน่วยงานองค์กร ภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ ทั้งในด้านงบประมาณและทรัพยากร เพื่อมาวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน ความเกี่ยวโยงของปัญหาที่อาจเป็นสาเหตุของกันและกัน(เช่น จน โง่ เจ็บ) โดยใช้กระบวนการบริหาร วิชาการ ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศ มาดำเนินการ บนพื้นฐานของการจัดการระบบที่ดี เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาที่เป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน
1. พัฒนาแนวความคิด และค่านิยมร่วม ในการแก้ไขปัญหา โดยยึดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ไม่ยึดติดกับกระบวนการและกรอบเดิม
2. ปรับปรุงพัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนการนำมา ใช้ในกระบวนการบริหารและวิชาการ
3. เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม ทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติการ ประชาชน ทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในแต่ละสภาพปัญหา ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ตลอดจนวิถีชีวิตของู้ปฏิบัติงาน
4. เชื่อมโยงการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแนวนโยบายรัฐบาล และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข นำนโยบายสู่การปฏิบัติ นำภารกิจด้านสาธารณสุขเข้าสู่กระบวนการบริหารของจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้นำ อย่างเป็นระบบ ปรับทัศนคติให้ทุกภาคส่วนเข้าใจในภาระหน้าที่ร่วมกัน และเห็นชัดเจนถึงบทบาทของทุกคน ที่ต้องร่วมมือกัน จึงจะสามารถผลักดันงานทุกงานไปสู่ผลสำเร็จได้
5. เน้นการใช้วิชาการ ร่วมในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
ใครจะเริ่มก่อนดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น