วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สุดโต่ง


เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ผู้เขียนได้มีโอกาสติดตาม นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นายแพทย์สถาพร วงษ์เจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๒ ไปเฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ บ้านน้ำต๊ะ บ้านน้ำลี อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ท่านผู้ตรวจสถาพร ได้ปรารภถึง วิธีคิด ในการบริการ ที่พูดกันว่า คนไข้เป็นศูนย์กลาง (Patient Oriented) ประชาชนเป็นศูนย์กลาง หรืออะไรอื่นๆ ที่เป็นศูนย์กลาง ว่า อาจไม่เหมาะสม เพราะทำให้ลืมคิดถึงบุคคลอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น เมื่อเรายึดเอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เราก็คำนึงแต่ความพึงพอใจของผู้ป่วย โดยไม่สนใจว่าบรรดา แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่อื่น จะมีผลกระทบใดบ้าง เรามุ่งเน้นแต่ให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุด การคิดเช่นนี้เมื่อท่าน(ผู้ตรวจฯ)เป็นหนุ่ม ก็ดูเหมือนเป็นความคิดที่ดูดี แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ทบทวนแล้วน่าจะมีอะไรที่คลาดเคลื่อนไป

ผู้เขียนเรียนถามท่านผู้ตรวจฯ ว่า หมายความว่า แนวความคิดเหล่านั้นเป็นแนวคิดที่ สุดโต่ง ใช่หรือไม่ ท่านตอบว่า ใช่ สุดโต่ง

นี่อาจเป็นคำตอบของพวกเราผู้ให้บริการ ว่าเราควรจะทบทวนระบบการให้บริการอย่างไร จึงจะเป็น ทางสายกลาง ที่เหมาะสมกับความเป็นจริงของสังคม

[โพสต์ครั้งแรก ที่ Notes on Weblog Gotoknow 20 Nov 2550 10:55]

ไม่มีความคิดเห็น: