๑๙๒
ซึ่งเราเสียทีถลำเข้าอยู่ในเงื้อมมือข้าศึกนี้
ก็เพราะทะนงดูหมิ่นแก่สงคราม
สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ ๘๓
เกียงอุยอาสาพระเจ้าเล่าเสี้ยนไปตีเมืองลกเอี๋ยง ยกทัพไปถึงเขากิสาน ฝ่ายเตงงายตั้งค่ายอยู่ริมเขากิสาน เกียงอุยให้ทหารถือหนังสือไปท้าให้เตงงายยกทหารออกมารบกัน เตงงายก็รับคำ ครั้นได้เวลาเกียงอุยจึงจัดทหารออกเป็นแปดกองตั้งกระบวนศึกปักกัวติ๋น แล้วร้องถามเตงงายว่ารู้จักหรือไม่ เตงงายก็โบกธงจัดทหารให้ตั้งกระบวนเหมือนเกียงอุย เกียงอุยจึงว่า แม้ชำนาญจริงก็ยกทหารเข้ามาในกระบวนศึกเราให้ได้เถิด เตงงายจึงว่า ท่านอย่าวิตกเราจะยกเข้าไปให้ดู แล้วก็ขี่ม้าถือธงนำทหารเข้าไปในกองทัพเกียงอุย เกียงอุยก็โบกธงให้ทหารแปดกองรวบกันล้อมเตงงายไว้ ร้องให้เตงงายวางอาวุธ เตงงายเห็นกระบวนศึกเกียงอุยกลับกลายมิรู้จะแก้ไขประการใดแหงนหน้าดูอากาศแล้วทอดใจใหญ่ว่า ซึ่งเราเสียทีถลำเข้าอยู่ในเงื้อมมือข้าศึกนี้ ก็เพราะทะนงดูหมิ่นแก่สงคราม
การสงคราม
แม้รบกับกองทัพเดิม ผลอาจไม่เหมือนเดิม
แม้รบกับแม่ทัพเดิม ผลอาจไม่เหมือนเดิม
แม้รบในสนามรบเดิม ผลอาจไม่เหมือนเดิม
แม้เคยรบชนะมาโดยตลอด
แต่การต่อสู้ ย่อมแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะ
สภาวะที่เปลี่ยนไป กลวิธีต้องเปลี่ยนแปลง
แม่ทัพ หากไม่ทบทวนแผนการรบ คือดูหมิ่นแก่สงคราม
แม่ทัพที่ดูหมิ่นแก่สงคราม ครานี้อาจแพ้พ่าย
งาน เฉกเช่นสงคราม
งาน คือการรบกับปัญหา
ปัญหาเดิม มิอาจแก้ได้ด้วยวิธีเดิมเสมอไป
วิธีเดิม อาจเคยใช้ได้ผลมาโดยตลอด
หากแต่ปัญหา ย่อมแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะ
สภาวะที่เปลี่ยนไป กลวิธีแก้ไขต้องเปลี่ยนแปลง
คนทำงาน หากไม่ทบทวนกระบวนงาน คือดูหมิ่นแก่งาน
ดูหมิ่นแก่งาน งานที่เคยสำเร็จ ครานี้อาจไม่ประสบผล
อย่าดูหมิ่นแก่งาน
หากแต่ปัญหา ย่อมแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะ
สภาวะที่เปลี่ยนไป กลวิธีแก้ไขต้องเปลี่ยนแปลง
คนทำงาน หากไม่ทบทวนกระบวนงาน คือดูหมิ่นแก่งาน
ดูหมิ่นแก่งาน งานที่เคยสำเร็จ ครานี้อาจไม่ประสบผล
อย่าดูหมิ่นแก่งาน
สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้
ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊ กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้
ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้ งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตั วละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว
มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น