๑๗๙
ศัตรูยุยงอยู่เหมือนวัณโรคอันมีพิษกำเริบอยู่ในอก
สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 76
ขงเบ้งยกทหารสามสิบหมื่นจะไปตีลกเอี๋ยง พระเจ้าโจยอยให้โจจิ๋นยกทัพมารบด้วยขงเบ้ง โจจิ๋นเสียกลศึกขงเบ้งหลายครั้งหลายครา สุมาอี้รับบัญชาพระเจ้าโจยอยออกมาช่วยโจจิ๋น โจจิ๋นมีความอัปยศแก่สุมาอี้ แต่ทุกข์ ๆ ตรอม ๆ จนป่วยไขัลง ขงเบ้งแจ้งดังนั้นจึงทำหนังสือไปเยาะเย้ย โจจิ๋นโกรธนัก โรคซึ่งป่วยอยู่ก็กำเริบหนักขึ้นถึงแก่ความตาย พระเจ้าโจยอยเร่งรัดให้สุมาอี้ทำการรบพุ่งเอาชัยชนะแก่ขงเบ้งให้จงได้ สุมาอี้จึงให้คนถือหนังสือไปท้ารบขงเบ้ง ขงเบ้งใช้กลศึกเอาชัยชนะแก่สุมาอี้ ขงเบ้งสั่งลงโทษกิอั๋นที่คุมเสบียงมาล่าช้า กิอั๋นโกรธหนีไปเข้าด้วยสุมาอี้ สุมาอี้จึงให้กิอั๋นไปปล่อยข่าวในเมืองเสฉวนว่า ขงเบ้งคิดขบถจะจับพระเจ้าเล่าเสี้ยนฆ่าเสีย ขันทีนำความกราบทูลพระเจ้าเล่าเสี้ยนให้เรียกตัวขงเบ้งกลับเมืองหลวง เมื่อขงเบ้งยกทัพกลับมาจึงตัดพ้อพระเจ้าเล่าเสี้ยนว่า ตนตั้งใจทำนุบำรุงบ้านเมือง แต่พระเจ้าเล่าเสี้ยนกลับไปฟังศัตรูยุยงอยู่เหมือนวัณโรคอันมีพิษกำเริบอยู่ในอก
เชื้อวัณโรคในร่างกายมนุษย์แบ่งเป็น
วัณโรคระยะแฝง กับ วัณโรคระยะแสดงอาการ
วัณโรคระยะแฝง ยังไม่เรียกว่าป่วยเป็นวัณโรค
วัณโรคระยะแฝง ทดสอบรู้ได้ แต่ตรวจไม่พบ
วัณโรคระยะแฝง ไม่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอ วัณโรคระยะแฝงก็จะกลายเป็นวัณโรคระยะแสดงอาการ
วัณโรคระยะแสดงอาการ เป็นอันตรายต่อเจ้าของร่างกาย
วัณโรคระยะแสดงอาการ สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
วัณโรคระยะแสดงอาการ เรียกว่าป่วยเป็น วัณโรค
วัณโรค ต้องรักษาด้วยการ กินยาระยะสั้นต่อหน้าต่อตา
วัณโรค หากรักษาไม่จริงจังอาจกลายเป็น วัณโรคดื้อยา
วัณโรคดื้อยา รักษายาก โอกาสตายสูง
ในกองทัพ อาจมีศัตรูแฝงคอยจ้องทำลายกองทัพ
ศัตรูแฝง จึงไม่อาจค้นหาพบ
ศัตรูแฝง อาศัยจังหวะกองทัพอ่อนแอ ขยายแนวร่วมทำลายกองทัพ
ในองค์กร อาจมีผู้จ้องทำลายองค์กรแฝง
ผู้จ้องทำลายองค์กรแฝง จึงไม่อาจค้นพบ
ผู้จ้องทำลายองค์กรแฝง จึงรอจังหวะองค์กรอ่อนแอ
ผู้จ้องทำลายองค์กรแฝง จึงรอจังหวะผู้นำองค์กรอ่อนแอ
ผู้นำองค์กรอ่อนแอ องค์กรอ่อนแอ ย่อมสามารถขยายแนวร่วมทำลายองค์กร
มีแต่ สร้างภูมิคุ้มกัน จึงจะป้องกันได้
มีแต่ จัดระบบการทำงานให้องค์กรเข้มแข็ง จึงจะป้องกันได้
หากรอจนแนวร่วมทำลายองค์กรก่อตัว
ต้องจัดการรุนแรง ให้ย่อยยับไปต่อหน้าต่อตา
ไม่อย่างนั้น ก็ไม่ต่างกับวัณโรคดื้อยา
หมายเหตุ
วัณโรคระยะแฝง = Latent TB
วัณโรคระยะแสดงอาการ = Active TB
กินยาระยะสั้นต่อหน้าต่อตา = DOTS (Directly Observed Treatment, Short Course)
สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้
ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊ กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้
ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้ งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตั วละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว
มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น