วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กลัวตาย

๑๔๔


ตัวกูเป็นนายทหารเอกมิได้รักชีวิต

มึงเหล่านี้เป็นแต่ทหารเลว
เหตุใดจึงกลัวความตาย

สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ISBN 974-601-985-6 ตอนที่ 55 หน้า 902

โจโฉตีเมืองฮันต๋งได้ เล่าปี่วิตกว่าโจโฉจะยกทัพมาตีเมืองเสฉวน ขงเบ้งจึง

ออกอุบายให้เล่าปี่ยุยงให้ซุนกวนยกมาตีเมืองหับป๋า จะทำให้โจโฉเป็นกังวล
ไม่กล้ายกทัพมาเสฉวน ซุนกวนแม้รู้ว่าเป็นอุบายแต่ก็ยกทัพเข้าตีเมืองหับป๋า
แต่ถูกเตียวเลี้ยวโต้กลับจนแตกทัพกลับไป ครั้งนั้นหทารแลชาวเมืองกังตั๋ง
กลัวฝีมือเตียวเลี้ยวมาก ถ้าเด็กร้องไห้มีผู้ขู่ออกชื่อเตียวเลี้ยวเด็กนั้นก็กลัว
นิ่งอยู่ ซุนกวนมีความน้อยใจหวังยกทัพไปแก้แค้นเตียวเลี้ยว โจโฉจึงคุม
ทหารสี่สิบหมื่นยกไปช่วยเมืองหับป๋า ซุนกวนจึงหาทหารอาสาไปตีทัพโจโฉ
ที่พึ่งยกมาถึงยังอิดโรยอยู่ กำเหลงอาสาขอทหารเพียงร้อยหนึ่งจะไปทำการ
ปล้นค่ายโจโฉเอาชัยชนะให้ได้ ทหารร้อยหนึ่งนั้นต่างคนต่างคิดว่า คนเท่านี้
หรือจะปล้นค่ายโจโฉได้ แล้วก็ก้มหน้าเป็นทุกข์อยู่ กำเหลงเห็นดังนั้นก็โกรธ
จึงชักกระบี่ออกแล้วว่า ตัวกูเป็นนายทหารเอกมิได้รักชีวิต มึงเหล่านี้เป็นแต่
ทหารเลว เหตุใดจึงกลัวความตาย แม้ผู้ใดย่อท้อไม่เป็นใจทำการ
กูจะเอากระบี่นี้ตัดศรีษะเสีย

จริงหรือ ทหารเลวกลัวตาย
จริงหรือ ทหารเอกไม่กลัวตาย
หากทหารเอกไม่กลัวตาย ใยเร่งรัดทหารเลวให้ออกหน้า

ไม่ว่าทหารเลวหรือทหารเอกย่อมกลัวตาย
ทุกคนย่อมรักชีวิต
ทุกคนย่อมกลัวตาย
คนที่ประกาศว่าไม่กลัวตาย อาจกลัวตายยิ่งกว่าใครๆ

การกลัวตาย เป็นธรรมชาติ
การคิดถึงตนเองก่อน จึงเป็นธรรมชาติ
การคิดถึงผู้อื่นก่อน จึงเป็นเพียง วาทกรรม

ถูกต้องแล้ว ที่คิดถึงตนเองก่อน
ถูกต้องแล้ว ที่เป็นห่วงตนเองก่อน
หากมิใช่ ห่วงตนเองแต่ผลักให้ผู้อื่นไปตายก่อน

เมื่อตนเองถึงพร้อม ย่อมคิดถึงผู้อื่นได้
เพียงแต่ ความถึงพร้อม ต้องอยู่บนความพอดี
เพียงแต่ ความถึงพร้อม ต้องอยู่บนความไม่โลภ

ความโลภ คือ ความอยากได้ไม่รู้จักพอ
ความโลภ คือ ความอยากได้ที่ไม่คำนึงถึงความเป็นจริ



สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ
ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 
มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้



ไม่มีความคิดเห็น: