วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คนพาล


๓๗

พระมหากษัตริย์เสวยราชสมบัติมาแต่ก่อน
บ้านเมืองย่อมเป็นอันตรายต่างๆ เพราะ
มีผู้กล้าแข็งหยาบช้าประทุษร้ายต่อแผ่นดิน
ขุนนางทั้งปวงอยู่ในอำนาจผู้นั้น ประการหนึ่ง
พระมหากษัตริย์เชื่อฟังสตรี บ้านเมืองจึงเป็นอันตราย ประการหนึ่ง
พระมหากษัตริย์เชื่อฟังคนพาล ราชสมบัติจึงเป็นจลาจลต่างๆ

สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 20

เล่าปี่ขอกำลังอ้วนเสี้ยวช่วยรบกับโจโฉ อ้วนเสี้ยวกะเกณฑ์ทหารเตรียมยกไปปราบโจโฉ
แต่เกรงหัวเมืองต่างๆจะเข้าด้วยกับโจโฉ จึงให้ตันหลิมร่างหนังสือกล่าวโทษโจโฉ
ว่ามีใจกำเริบคิดทำการหยาบช้าต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ หากทั้งสิบแปดหัวเมือง
ยอมตกอยู่ในอำนาจโจโฉก็อาจร่วมประทุษร้ายต่อแผ่นดินได้


คนพาล คือคนที่ คิดชั่ว พูดชั่ว และ ทำชั่ว
คนพาล คือคนที่ มองผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
คนพาล จึงต้องพยายามครอบงำผู้นำในองค์กร

ผู้นำ ย่อมถูกครอบงำด้วยความลุ่มหลงสองประการ
หนึ่งคือ ความลุ่มหลงใน อามิสผลประโยชน์จาก คนหยาบช้า
หนึ่งคือ ความลุ่มหลงใน มารยาแห่ง เพศตรงข้าม

สังคม ในองค์กรต้องช่วยกันควบคุม
อย่าหลงติดกับดักความลุ่มหลงในคนพาล
เพราะหากพลาดพลั้งไป พังทลายทั้งองค์กร



สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คนน้อยคนมาก


๓๖

ธรรมดาการสงครามใช่จะมีชัยชนะด้วยทหารมากหามิได้
ย่อมจะชนะเพราะมีสติปัญญาคิดกลอุบายต่างๆ

สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 20

เล่าปี่ขอกำลังอ้วนเสี้ยวช่วยรบกับโจโฉ อ้วนเสี้ยวจึงปรึกษากับทหารผู้ใหญ่ทั้งปวง
สิมโพยแนะนำว่าอ้วนเสี้ยวควรยกทัพไปปราบโจโฉ เพราะกองกำลังของอ้วนเสี้ยว
ยิ่งใหญ่กว่ามาก สามารถปราบโจโฉได้ดังพลิกฝ่ามือ ชีสิวจึงเตือนอ้วนเสี้ยวว่า
การจะเอาชนะนั้นมิได้ขึ้นกับกำลัง หากต้องใช้ปัญญาและกลอุบายต่างๆ

การทำงานให้สำเร็จ ย่อมอยู่ที่ การวิเคราะห์ ปัญหาและสถานการณ์
การทำงานให้สำเร็จ ย่อมอยู่ที่ การสังเคราะห์ สาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
การทำงานให้สำเร็จ ย่อมอยู่ที่ การวางแผน และ การประเมินผลลัพธ์

ทำดุ่ยๆไป เน้นปริมาณ แม้สำเร็จก็ไร้คุณภาพ

คนน้อย ก็ทำงานให้สำเร็จได้
เงินน้อย ก็ทำงานให้สำเร็จได้

คนมาก แต่โง่ ขาดสติ ไม่มีปัญญา
คนมาก แต่ทะเลาะเบาะแว้ง ขาดความสามัคคี ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน

สู้ยอมมีคนน้อย

คนน้อย แต่มีสติ มีปัญญา
คนน้อย แต่มีความสามัคคี มีธรรมาภิบาล ไม่ไหวหวั่น

สติ ปัญญา สามัคคี ธรรมาภิบาล แม้ไม่มีอยู่ก็สร้างได้พัฒนาได้




สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คิดการกำเริบ



๓๕
อันโบราณกล่าวไว้ว่า
ถ้าผู้ใดเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ครั้งหนึ่ง
ก็มีน้ำใจกว้างขวางคิดการกำเริบได้ถึงพันครั้ง


สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 19

อ้วนสุดยกทัพจะไปเข้ากับอ้วนเสี้ยว เล่าปี่เห็นได้โอกาสหนีพ้นเอื้อมมือโจโฉ
จึงอาสาโจโฉไปสกัดตีอ้วนสุด เทียหยกกับกุยแกทราบข่าวรีบกลับมาจากการหาเสบียง
กุยแกเตือนโจโฉว่า แทนที่จะฆ่าเล่าปี่ทิ้งเสียตั้งแต่ต้น กลับยินยอมให้เป็นแม่ทัพยกไปสกัดอ้วนสุด
จะทำให้เล่าปี่ยิ่งได้ใจและเอาใจออกห่าง ต่อไปโจโฉจะได้รับความเดือดร้อนจากเล่าปี่

คนทำงานในองค์กร มี 2 ประเภท

หนึ่งคือ คนเก่งคนดี มีฝีมือ แต่ไม่มีพรรคไม่มีพวก ไม่รู้จักวิ่งเต้น เข้าหาเจ้านาย พร้อมเป็นผู้นำในการทำงานหากได้รับการสนับสนุน เรียกได้ว่า คนดี ใจไม่กล้า

หนึ่งคือ คนไม่เก่งคนไม่ดี แต่ต้องการผลักดันตนเองไปอยู่ในชั้นแนวหน้าเพื่อหวังผลประโยชน์ที่แอบแฝงซ่อนเร้น เรียกได้ว่า คนกล้า ใจไม่ดี


ต้องสนับสนุน คนดี ใจไม่กล้า ให้ใจกล้า เมื่อได้พิสูจน์ฝีมือก็จะมีความมั่นใจ คิดพัฒนางานให้รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ต้องไม่สนับสนุน คนกล้า ใจไม่ดี คนไม่ดีเมื่อมีโอกาสจะยิ่งทำไม่ดี เมื่อมั่นใจ ก็จะยิ่งทำไม่ดี

อย่าสนับสนุน คนกล้า ใจไม่ดี อย่าแม้เพียงแค่ทดลองงาน





สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้


วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยจระเข้ลงน้ำ


อุปมาเหมือนปล่อยเสือเข้าป่า แลปล่อยจระเข้ลงในแม่น้ำ


สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 19

อ้วนสุดยกทัพจะไปเข้ากับอ้วนเสี้ยว เล่าปี่เห็นได้โอกาสหนีพ้นเอื้อมมือโจโฉ
จึงอาสาโจโฉไปสกัดตีอ้วนสุด เร่งยกกองทัพไปทั้งกลางวันกลางคืน
เทียหยกกับกุยแกทราบข่าวรีบกลับมาจากการหาเสบียง เทียหยกทักท้วงโจโฉว่า
การที่โจโฉปล่อยให้เล่าปี่หลุดมือไป เหมือนปล่อยเสือเข้าป่าปล่อยจระเข้ลงน้ำ
ต่อไปคงจะจับตัวได้ยาก และจะเป็นภัยต่อโจโฉแน่นอน


เสือเป็นสัตว์ป่า แม้เลี้ยงไว้ตั้งแต่เกิด เมื่อปล่อยคืนสู่ป่า สัญชาตญาณ สัตว์ป่าก็จะแสดงออก
จระเข้เป็นสัตว์ร้าย แม้เลี้ยงไว้ตั้งแต่เกิด เมื่อปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำ สัญชาตญาณ สัตว์ร้ายก็จะแสดงออก

แต่หากปล่อยเสือหรือจระเข้ไปอยู่ในสภาวะที่ไม่มีกลิ่นอายของธรรมชาติเดิม
ก็ไม่อาจเร่งเร้าให้เสือและจระเข้คืนความดุร้าย

ปัจจัยของการแสดงออกของสัญชาตญาณ จึงอยู่ที่
1. พันธุกรรม
2. สภาวะแวดล้อม

คนไม่ดีในองค์กร จึงมิใช่อยู่ที่ความเป็นคนไม่ดีเท่านั้น ยังเพราะ สภาวะแวดล้อมในองค์กร ด้วย

หากจำเป็นต้องปล่อย คนไม่ดีในองค์กร ไปอยู่ในสังคมใหม่ ให้ไกลหูไกลตา
ต้องมีระบบควบคุมที่ดี
อย่าให้มีโอกาสใช้ พันธุกรรม ไปก่อกวนหมู่คนดีให้วุ่นวาย
อย่าให้สภาวะแวดล้อมกระตุ้น พันธุกรรม จนควบคุมไม่ได้

หากวางระบบคุมไม่ได้ ต้องเก็บไว้ใกล้ตัว
หากเอาไว้ใกล้ตัวยังไม่ได้ ก็ต้อง ไม่เก็บเอาไว้เลย




สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้