วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตา หู ใจ



๔๐

ประการหนึ่งตัวไม่รู้จักคนดีแลชั่ว จักษุของตัวนั้นเป็นที่โสโครก
ประการหนึ่งซึ่งผู้ใดมีใจสัตย์ซื่อ เห็นว่าตัวทำการหยาบช้า
ห้ามปรามตัวโดยสุจริตตัวมิได้ฟัง หูของตัวเป็นที่โสโครก
ประการหนึ่งตัวมิได้โอบอ้อมอารีต่อขุนนางแลหัวเมืองทั้งปวง
แล้วตัวคิดอ่านทำการหยาบช้า...ใจของตัวก็เป็นการโสโครก


สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 21

ยี่เอ๋ง ได้รับการเรียกตัวมาใช้งานกับโจโฉ โจโฉเห็นว่ายี่เอ๋งเป็นคนอวดรู้ จะฆ่าทิ้งเสีย
ก็เกรงคนจะครหานินทา จึงส่งไปเป็นคนตีกลอง วันหนึ่งยี่เอ๋งใส่เสื้อขาดออกมาตีกลองรับแขก
เมื่อได้รับการต่อว่า ยี่เอ๋งจึงประชดด้วยการ แก้ผ้าตีกลอง โจโฉโกรธด่าว่ายี่เอ๋งทำเรื่องหยาบช้า
ยี่เอ๋งจึงโต้ว่า โจโฉต่างหากที่เป็นคนโสโครก โสโครกทั้งตา โสโครกทั้งหู โสโครกทั้งใจ


คนทำดี ใช่ว่าจะเจตนาดี หากอาจเป็นเจตนาร้าย
คนทำไม่ดี ใช่ว่าจะเจตนาร้าย หากอาจเป็นเจตนาดี
ทำดีหรือทำไม่ดี ไม่ได้อยู่ที่คนทำ แต่อยู่ที่ คนมอง

คนพูดดี ใช่ว่าจะเจตนาดี หากอาจเป็นเจตนาร้าย
คนพูดไม่ดี ใช่ว่าจะเจตนาร้าย หากอาจเป็นเจตนาดี
พูดดีหรือพูดไม่ดี ไม่ได้อยู่ที่คนพูด แต่อยู่ที่ คนฟัง

รู้จักมอง จึงรู้จักแยกแยะ คนทำดี ทำไม่ดี
รู้จักฟัง จึงรู้จักแยกแยะ คนพูดดี พูดไม่ดี

รู้จักมองหรือไม่ รู้จักฟังหรือไม่ อยู่ที่ ใจคน

รู้จักแยกแยะ คนดี หรือ คนไม่ดี อยู่ที่ ใจคน



สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้


วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

คนคนหนึ่ง


๓๙

แผ่นดินนี้กว้างขวางนัก
ถ้าจะขาดคนคนหนึ่งก็จะเป็นไรหนักหนา


สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 21

โจโฉต้องการเกลี้ยกล่อมเล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋วมาเป็นพวก ด้วยเล่าเปียวนั้น
คบหาแต่เพื่อนที่มีสติปัญญา ขงหยงจึงแนะนำให้เรียกตัวยี่เอ๋งซึ่งเป็นคนมีสติปัญญา
มาใช้งาน เมื่อยี่เอ๋งมาถึงก็คำนับโจโฉ โจโฉมิได้รับคำนับ ไม่ให้การต้อนรับ
ไม่โอภาปราศรัย ยี่เอ๋งน้อยใจ จึงกล่าวกระทบกระเทียบเปรียบเปรยว่า
แผ่นดินนี้กว้างขวางนัก ถ้าจะขาดคนคนหนึ่งก็จะเป็นไรหนักหนา


คนคนหนึ่ง มักคิดว่า ตนสำคัญที่สุดในองค์กร
ความจริงก็เพียงแค่ คนคนเดียว

คนคนเดียว ย่อมไม่ใช่คนสำคัญที่สุด
คนสำคัญที่สุด จึงเป็น คนหลายคน

คนหลายคน ยังอาจ ไม่เพียงพอ
ที่เพียงพอ จึงเป็น คนทุกคน

ขาดคนคนเดียว ก็เพียงแค่แสวงหา คนคนหนึ่ง
ขาดคนคนเดียว องค์กรจึงยังอยู่รอด
แต่ขาดคนทุกคน องค์กรย่อมล่มสลาย

อย่าคิดว่าตนเป็น คนคนเดียว




สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

คนทรัพย์มาก คนไร้ทรัพย์



๓๘

อุปมาเหมือนคนมีทรัพย์มาก
ท่านจะเอาทรัพย์ไปให้ เห็นจะไม่มีความยินดี
คนไร้ทรัพย์ ท่านเอาทรัพย์ไปให้แต่น้อยก็มีความยินดีเป็นอันมาก


สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 20

โจโฉและอ้วนเสี้ยวต่างพยายามเกลี้ยกล่อมเตียวสิ้วเป็นพวก
เตียวสิ้วเห็นว่าโจโฉมีทหารน้อยกว่าอ้วนเสี้ยวทั้งเคยเป็นศัตรูเก่ามาก่อน
จะนำทัพไปร่วมกับอ้วนเสี้ยว กาเซี่ยงที่ปรึกษาของเตียวสิ้วกลับเห็นว่า
ควรยกทัพไปช่วยโจโฉดีกว่าช่วยอ้วนเสี้ยวซึ่งมีกำลังทหารมาก
ย่อมไม่เห็นความสำคัญของกองทัพเตียวสิ้วที่จะมาช่วยเหลือ

คนมีทรัพย์มาก ไม่ได้หมายถึง คนมีทรัพย์สินมาก หากแต่หมายถึง คนที่เพียงพอในทรัพย์สินที่ตนมี

คนไร้ทรัพย์ ไม่ได้หมายถึง คนไม่มีทรัพย์สิน หากแต่หมายถึง คนที่ไม่เพียงพอในทรัพย์สินที่ตนมี

คนที่เพียงพอในทรัพย์สิน ย่อมไม่ปรารถนาในทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบ
คนที่ไม่เพียงพอในทรัพย์สิน ย่อมแสวงหาทรัพย์สินเพิ่มเติมในทุกวิถีทาง

อย่าเสนอผลประโยชน์ให้กับ ผู้ไม่รู้จักเพียงพอ เพราะ ความไม่เพียงพอ ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด


สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้