วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สิบชนะ สิบแพ้พ่าย



๒๘

ท่านจะชนะสิบประการ นั้นคือ
ท่านมิได้ถือตัว ถ้าจะทำการสิ่งใดถึงผู้น้อยจะขัดท่านว่าผิดแลชอบ ท่านก็เห็นด้วย ประการหนึ่ง
น้ำใจท่านโอบอ้อมอารีต่อคนทั้งปวง แล้วจะทำการสิ่งใดก็ถือเอารับสั่งพระเจ้าเหี้ยนเต้เป็นประมาณ คนทั้งหลายก็ยินดีด้วย ประการหนึ่ง
ท่านจะว่ากล่าวสิ่งใดก็สิทธิ์ขาดมีสง่า คนทั้งปวงยำเกรงท่านเป็นอันมาก ประการหนึ่ง
ใจท่านซื่อสัตย์ เลี้ยงทหารโดยยุติธรรม ถึงญาติพี่น้องผิดก็ว่ากล่าวมิเข้าด้วยผู้ผิด ประการหนึ่ง
ท่านจะคิดทำการสิ่งใดเห็นเป็นความชอบ ก็ตั้งใจทำไปจนสำเร็จ ประการหนึ่ง
ท่านจะรักผู้ใดก็รักโดยสุจริตมิได้ล่อลวง ประการหนึ่ง
ท่านเลี้ยงคนซึ่งอยู่ใกล้กับอยู่ไกล ถ้าดีแล้วเลี้ยงเสมอกัน ประการหนึ่ง
ท่านคิดการหนักหน่วงให้แน่นอนแล้วจึงทำการ ประการหนึ่ง
ท่านจะทำการสิ่งใด ก็ทำตามขนบธรรมเนียมโบราณ ประการหนึ่ง
ท่านชำนาญในกลสงคราม ถึงกำลังข้าศึกมากกว่าท่าน ท่านก็คิดเอาชัยชนะได้ ประการหนึ่ง


อ้วนเสี้ยวจะแพ้แก่ท่านสิบประการ นั้นคือ อ้วนเสี้ยว
เป็นคนถืออิสริยยศ มิได้เอาความคิดผู้ใด ประการหนึ่ง
เป็นคนหยาบช้า ทำการโดยโวหาร ประการหนึ่ง
จะว่ากิจการสิ่งใด มิได้สิทธิ์ขาด ประการหนึ่ง
เห็นแก่ญาติพี่น้องของตัว มิได้ว่ากล่าวตามผิดแลชอบ ประการหนึ่ง
จะคิดการสิ่งใด มักกลับเอาดีเป็นร้ายเอาร้ายเป็นดี มิได้เชื่อใจของตัว ประการหนึ่ง
จะเลี้ยงผู้ใดมิได้ปรกติ ต่อหน้าว่ารัก ลับหลังว่าชัง ประการหนึ่ง
มักรักคนชิดซึ่งประสมประสาน ผู้ใดห่างเหินถึงซื่อสัตย์ก็มีใจชัง ประการหนึ่ง
กระทำความผิดต่างๆเพราะฟังคำคนยุยง ประการหนึ่ง
จะทำการสิ่งใด เอาแต่อำเภอใจ มิได้ทำตามอย่างธรรมเนียมโบราณ ประการหนึ่ง
มิได้รู้ในกลศึก แต่มักพอใจทำการศึกล่อลวง จะชนะก็ไม่รู้จะแพ้ก็ไม่รู้ เป็นสิบประการ


สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 16

อ้วนเสี้ยวมีหนังสือมาขอทหารแลเสบียงจากโจโฉ
ขู่ว่าหากโจโฉไม่ยอมให้ก็จะยกทัพมาตีเมืองฮูโต๋
โจโฉโกรธคิดจะยกทัพบุกเมืองกิจิ๋วจับอ้วนเสี้ยวมาฆ่าเสีย
แต่เกรงอยู่ด้วยเพิ่งเสร็จศึกมา ทหารเหลือน้อยแถมยังอิดโรย
กุยแกเยินยอว่า อ้วนเสี้ยวไม่มีทางเอาชนะโจโฉ
เพราะโจโฉมีข้อดีสิบประการ ขณะที่อ้วนเสี้ยวก็มีข้อเสียสิบประการ


Leadership เป็นสิ่งที่ดีที่ผู้นำควรมี
แต่ ย่อมไม่มีใคร ดีหมด
และ ย่อมไม่มีใคร เลวหมด
หากผู้นำคนใดได้รับคำสรรเสริญจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่า ดีหมดทุกอย่าง
ผู้ตามกำลังใช้ Followership

เป็นผู้นำ ต้องมี ภาวะผู้นำ
เป็นผู้ตาม ต้องมี ภาวะผู้ตาม
เป็นผู้นำ อย่าคาดหวัง ภาวะผู้นำจากผู้ตาม
เป็นผู้ตาม อย่าคาดหวัง ภาวะผู้ตามจากผู้นำ



สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เสือกับเหยี่ยว



๒๗

อุปมาเหมือนเลี้ยงเสือ ถ้าได้กินอิ่มก็จะเป็นปรกติ
ถ้ามิอิ่มก็จะเบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงเป็นอาหาร
อุปมาเหมือนเหยี่ยวซึ่งอยากอาหาร
คอยแสวงหาลูกไก่อันพลัดแม่ ได้ทีแล้วก็ฉาบลงเอา
ถ้าเห็นยังมิได้ทีก็ค่อยทำความเพียรคอยอยู่กว่าจะได้ลูกไก่


สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 15


ลิโป้แต่งหนังสือให้ตันเต๋งไปพบโจโฉ ขอให้โจโฉทูลพระเจ้าเหี้ยนเต้ตั้งลิโป้เป็นเจ้าเมืองชีจิ๋ว
ตันเต๋งกลับไปเสนอตัวเป็นไส้ศึกให้กับโจโฉ แล้วมาอ้างกับลิโป้ว่าได้ไปเกลี้ยกล่อมโจโฉ
โดยตนได้ยกย่องลิโป้ว่าเปรียบประดุจดังเสือ ที่โจโฉควรเลี้ยงไว้
แต่โจโฉกลับเห็นว่าลิโป้เปรียบดังเหยี่ยวต่างหาก

เสือเป็นสัตว์ผู้ล่า ต้องล่าเหยื่อเป็นอาหาร และจะล่าเหยื่อเมื่อเฉพาะเวลาหิวเท่านั้น

ความหิวจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เสือมีพลังในการไล่ล่า
ยามอิ่ม เสือจะนอนพักผ่อนและหมดพลัง เสือกลับกลายเป็นแมว
คนเลี้ยงเสือจึงต้องให้กินอิ่มเสมอ เมื่อเสืออิ่ม คนเลี้ยงก็ปลอดภัย

เหยี่ยวก็เป็นสัตว์ผู้ล่า แต่เหยื่อที่เหยี่ยวล่าเป็นเหยื่อขนาดเล็ก

กินเท่าไรก็ไม่อิ่ม เหยี่ยวจึงหิวอยู่ตลอดเวลา เมื่อหิวก็ต้องล่า
เหยี่ยวจะยอมหยุดล่าเมื่อไม่มีเหยื่อเหลือแล้วเท่านั้น
คนเลี้ยงเหยี่ยวจึงไม่ต้องให้กินอิ่ม เหยี่ยวหิวเพียงใด ก็ไม่กินคนเลี้ยง 

คนทำงานนิสัยเสือ 
เมื่อทำงานสำเร็จก็หมดความอยากที่จะจับงานชิ้นถัดไป
เมื่อหมดงานก็จะทอดหุ่ย ไม่แสวงหางานทำ ทำตัวเป็นคนว่างงาน
เอาเปรียบเพื่อนฝูงอยู่ร่ำไป เมื่อว่างงานก็จะจ้องแว้งจับผิดผู้อื่น
จึงต้องหมั่นสังเกต และคอยมอบหมายงานทำ มิให้ว่าง

คนทำงานนิสัยเหยี่ยว ขยันทำงาน หมดงานหนึ่งก็จับงานใหม่มาทำต่อไป
แสวงหางานทำ ไม่ทำตนเป็นคนว่างงาน
แม้ได้งานเล็ก แต่ก็ขยัน พอใจกับงานเล็กๆที่จบไป แล้วก็ยังต้องการสร้างผลงานต่อ
ตราบใดที่งานยังไม่หมด คนนิสัยเหยี่ยวจะไม่ยอมหยุดงาน

ทั้งเสือและเหยี่ยว ไม่ใช่คนทำงานที่ผู้บริหาร พึงปรารถนา


แต่คนทำงานทุกวันนี้ หากไม่ใช่เสือ ก็เป็นเหยี่ยว

อยู่ที่ผู้บริหารจะเลือกใช้งานอย่างไร


Note

สำนวน ฉบับภาษาอังกฤษของ C.H. Brewitt-Taylor ว่า
(I said that to keep you going was) like feeding a tiger. The tiger must be kept fully fed or he would eat humans.
One must treat the Commander like a falcon. Not feed it till the foxes and hares are done. Hungry, the bird is of use; full fed it flies away.

สำนวน ฉบับแปลใหม่ของ วรรณไว พัธโนทัย ว่า
จงเลี้ยงอย่างเสือ ธรรมดาเสือถ้าได้กินเนื้อกินอิ่ม ก็เป็นปกติอยู่ ถ้าไม่อิ่มก็จะกัดกินคน
ต้องเลี้ยงอย่างเหยี่ยว ตราบใดที่หมาจิ้งจอกกับกระต่ายยังไม่หมดป่า ตราบนั้นเหยี่ยวจะไม่ยอมอิ่ม เหยี่ยวหิวจึงใช้การได้ดี ถ้าอิ่มแล้วก็จะบินหนีไป



สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้




วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ภรรยาเหมือนเสื้อผ้า



๒๖

ธรรมดาภรรยาอุปมาเหมือนอย่างเสื้อผ้า
ขาดแลหายแล้วก็จะหาได้
พี่น้องเหมือนแขนซ้ายขวา ขาดแล้วยากที่จะต่อได้

สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 12

เตียวหุยเสพย์สุราเมาจนเสียเมืองให้กับลิโป้ ทิ้งครอบครัวเล่าปี่
หนีเอาตัวรอดไปจนพบเล่าปี่ กวนอูโกรธต่อว่าเตียวหุยที่ไม่รักษาสัญญา
เตียวหุยคิดอัปยศแก่ทหารทั้งปวง ชักกระบี่จะเชือดคอตาย
เล่าปี่ชิงกระบี่ไว้แล้วบอกว่า 
ความเป็นพี่น้องกันของเล่าปี่กวนอูเตียวหุยนั้นสำคัญกว่าภรรยา

พี่น้อง คือคนที่มีพ่อแม่เดียวกัน มีสายเลือดเดียวกัน

ไม่ต้องจดทะเบียน ก็เป็นพี่น้องกัน
จะชั่วจะดี จะยากจะจน จะร่ำจะรวย ก็เป็นพี่น้องกัน
จะรักจะโกรธ จะอยู่ไกลอยู่ใกล้ ก็เป็นพี่น้องกัน
เป็นวงศ์ตระกูลเดียวกัน ตัดกันไม่ขาด ตัดพี่ตัดน้องไม่ได้

สามีภรรยา คือคนสองคนที่ตกลงปลงใจแต่งงานใช้ชีวิตร่วมกัน
จะชั่วจะดี จะยากจะจน จะร่ำจะรวย
จะรักจะโกรธ จะอยู่ไกลอยู่ใกล้
ตราบใดที่ยังปลงใจเป็นคู่กัน ก็ยังคงเป็นสามีภรรยา

จะรักกันเพียงใด จะสัมพันธ์กันเพียงใด เมื่อตัดสินใจแยกทางกัน
หย่าขาดจากกัน ความเป็นสามีภรรยาก็เป็นอันสิ้นสุดลง

ความเป็นสามีภรรยา เป็นแล้ว เลิกได้ หย่าได้ 
ความเป็นพี่น้อง เป็นแล้ว เลิกไม่ได้ หย่าไม่ได้ 

การทำงาน 
ผู้ร่วมงานไม่ใช่คนแต่งงานกัน ไม่ใช่สามีภรรยา
หากคือพี่น้อง หย่าขาดจากกันไม่ได้
จะดีจะเลว ก็พี่น้อง
จะสำเร็จจะล้มเหลว ก็พี่น้อง
มีสุขร่วมเสพย์ มีทุกข์ร่วมต้าน


Note
สำนวน ฉบับภาษาอังกฤษของ C.H. Brewitt-Taylor ว่า
Brothers are as hands and feet; wives and children are as clothing. You may mend your torn dress, but who can reattach a lost limb?

สำนวน ฉบับแปลใหม่ของ วรรณไว พัธโนทัย ว่า
โบราณว่าธรรมดาพี่กับน้องเสมือนมือกับเท้า ลูกเมียเสมือนเสื้อผ้า เสื้อผ้าขาดย่อมปะชุนได้ มือกับเท้าขาดจะเอาที่ไหนมาต่อ


สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้


วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชาติทหาร


๒๕

ธรรมดาเกิดมาเป็นชาติทหารแล้ว
ถ้าจะเสียทีก็อย่าเป็นทุกข์ ถึงจะได้ทีก็อย่ายินดี


สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 12

โจโฉวางแผนทำหนังสือรับสั่งพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้เล่าปี่ยกทัพไปตีเมืองอ้วนสุด
แม้ทราบว่าเป็นอุบาย เล่าปี่ก็จำต้องยกทัพไปตามรับสั่ง
ให้เตียวหุยอยู่รักษาเมืองชีจิ๋ว เตียวหุยให้สัญญาว่าจะไม่เสพย์สุรา
แต่ในที่สุดก็ไม่อาจหักห้ามใจตนเองเสพย์สุรา เมาจนเสียเมืองให้กับลิโป้
ทิ้งครอบครัวเล่าปี่ หนีเอาตัวรอดไปจนพบเล่าปี่
บรรดาทหารในทัพเล่าปี่พากันทุกข์วิตกกังวลถึงครอบครัวของตัว
เล่าปี่จึงปลอบใจทหาร ว่าเมื่อเสียทีก็อย่าเป็นทุกข์ เมื่อได้ทีก็อย่ายินดี

การบริหารงานย่อมมีทั้ง ความสำเร็จและความล้มเหลว
เมื่อสำเร็จก็อย่าลำพอง เมื่อล้มเหลวก็อย่าสิ้นหวัง
คนหยิ่งผยองลำพอง เมื่อพลาดท่าวันใด ผู้คนจะเย้ยเยาะ
คนล้มเหลว แม้โดนเย้ยหยัน ก็มีโอกาสคิดสู้ใหม่

ผู้ใต้บังคับบัญชา ทำงานสำเร็จ ควรชมแต่พองาม อย่ายกย่องจนเหลิง ผู้อื่นพลอยหมั่นใส้
ผู้ใต้บังคับบัญชา ทำงานพลาด ก็อย่าติจนหวาดผวา ไม่กล้าคิดใหม่ ไม่กล้าทำใหม่


ชีวิตคนเราย่อมมีขึ้นมีลง เมื่อขึ้นเต็มที่ ดุจดั่งปีนป่ายสู่ยอดเขา เมื่อตกต่ำ ดุจดั่งลงสู่ก้นเหว
วันที่อยู่ยอดเขาจึงอย่าหลงระเริง โดดโลดเต้นอาจพลัดตกเขาได้
วันที่อยู่ก้นเหว หากไม่พยายามปีนป่าย ย่อมจมอยู่กับหุบเหวไปชั่วนิรันดร์



Note

สำนวน ฉบับภาษาอังกฤษของ C.H. Brewitt-Taylor ว่า
Success is not worth rejoicing over; failure is not worth grieving over.

สำนวน ฉบับแปลใหม่ของ วรรณไว พัธโนทัย ว่า
เวลาได้ทีอย่าดีใจเกินไป เวลาเสียที ก็ไม่ควรเสียใจจนเกินเหตุ



สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้




วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ข้าวแดงแกงร้อน

๒๔

ธรรมดาเป็นบ่าวได้กินข้าวแดงของท่านแล้ว
ถ้ามิพอใจอยู่ด้วย แลจะซ้ำทำร้ายแก่นาย
ก็เป็นคนหากตัญญูมิได้


สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 12



โจโฉอยากได้ตัวซิหลงไว้เป็นทหารจึงส่งหมันทองซึ่งคุ้นเคยกับซิหลงมาก่อน
ไปหว่านล้อมซิหลงให้ทิ้งเอียวฮองและหันเซียมไปอยู่กับโจโฉ 
หมันทองเกลี้ยกล่อมจนซิหลงยินยอม แล้วแนะนำให้ซิหลง
ตัดหัวเอียวฮองและหันเซียมไปกำนัลแก่โจโฉ
ซิหลงไม่ยินยอมด้วยรู้คุณข้าวแดงแกงร้อน

ในอดีตที่ผ่านมา เจ้านายที่มีลูกน้องไว้ทำงาน จะต้องเลี้ยงดูทั้งชีวิตความเป็นอยู่และอาหารการกิน

อาหารที่ให้ลูกน้องประเภท ขี้ข้า กินนั้นไม่ได้ดิบดีนัก ก็แค่ ข้าวแดงกับแกงร้อนๆ
แม้งานจะหนักนายจะโหดอย่างไร ทุกวันก็ยังมี ข้าวแดงกับแกงร้อนๆราดข้าวให้กินประทังชีวิต
ข้าวแดงแกงร้อน จึงเป็นสำนวนที่ขี้ข้าใช้แสดงความรู้สึกถึง บุญคุณ ของเจ้านาย

ปัจจุบัน สภาวะ และบริบทเปลี่ยนไป

เป็นการทำงานร่วมกัน ต่างพึ่งพาอาศัยกัน นายให้ลูกน้องบ้าง ลูกน้องให้นายบ้าง เป็นการทำแบบได้รับ ผลประโยชน์ต่างตอบแทน จึงต่างก็เป็น บุญคุณ แก่กันและกัน

เมื่อต่างก็มีบุญคุณ จึงต่างควรสำนึกถึงบุญคุณของผู้ให้ ไม่ว่าผู้ให้จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ยามขัดข้องหมองใจเรื่องใด พึงระลึกว่าอย่างน้อยก็มีสิ่งดีๆที่เขาเคยให้ แม้ว่าจะน้อยนิดจนเทียบชดเชยกับความขัดข้องในปัจจุบันไม่ได้ แต่ขณะเมื่อก่อนหน้านั้น สิ่งที่ได้รับมาก็เป็นส่วนสำคัญในชีวิตเรา

คนไม่รู้จักกัน ศัตรูกัน ยังสามารถแผ่เมตตาให้ได้  นี่รู้จักกันมา ร่วมงานกันมา มีบุญคุณต่อกันมา จะฆ่ากันจนตายไปข้างหนึ่ง จึงไม่ควรกระทำ

หมายเหตุ
ยุคนี้เจ้านายไม่จำเป็นต้องเลี้ยงดูลูกน้อง ลูกน้องบางคนกลับต้องเลี้ยงดูเจ้านาย เอาใจนายสารพัดสารพัน
วันหลังลองหุงข้าวแดงเลี้ยงนายสักมื้อ เผื่อนายจะนึกถึงข้าวแดงแกงร้อนบ้าง


Note

สำนวน ฉบับภาษาอังกฤษของ C.H. Brewitt-Taylor ว่า
It is very wrong for a servant to slay his master.

สำนวน ฉบับแปลใหม่ของ วรรณไว พัธโนทัย ว่า
บ่าวที่ทำร้ายนายของตนเองย่อมเป็นคนอกตัญญูอย่างยิ่ง




สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้

มีคำกล่าวล่ำลือถึงความเป็น สุดยอดตำราทางยุทธศาสตร์ ของ สามก๊ก ว่า อ่านสามจบคบไม่ได้  ฟังดูก็ไม่เชิงว่าจะเป็นการนิยมยกย่องสักเท่าไร เพราะเหตุที่คบไม่ได้ มิใช่ว่าจะเป็นคนเก่งกล้าสามารถ แต่หากจะเป็นคน เจ้าเล่ห์แสนกล ด้วยสามก๊กนั้นเต็มไปด้วยกลอุบาย หรือที่คบไม่ได้อาจเป็นเพราะ ท่าทางจะเป็นคนโง่เหลือกำลัง ที่ทนอ่านอยู่ได้ตั้งสามจบ

ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้

ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว 

มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้