วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เยี่ยมๆมองๆ รพ.สต.บ้านโคก

วันอังคารที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔

ออกจากรพ.สต.ดงมูลเหล็ก เดินทางต่ออีกประมาณ ๑๐ นาทีก็ได้ไป เยี่ยมๆมองๆ รพ.สต.บ้านโคก
ตำบลบ้านโคก มีรพ.สต. ๒ แห่ง คือ รพ.สต.บ้านโคก และ รพ.สต.กงกะยาง
รพ.สต.บ้านโคก รับผิดชอบ ๑๑ หมู่บ้าน คนไข้ประมาณ ๖๐-๗๐ คนต่อวัน


รพ.สต.บ้านโคก ซ่อนอยู่หลังตลาด ทางเข้าแคบ(ถ้าไปเองคงหาไม่เจอ น่าจะต้องทำป้ายบอกทางเข้าไว้หน่อย) ขณะที่ไปเยี่ยมกำลังต่อเติม ตกแต่งอาคาร ทำห้องประชุมสำหรับ อสม. ขนาด ประชุมได้ ๑๐๐ คน ดูสวยงาม คาดว่าจะเสร็จเร็วๆนี้ สภาพโดยทั่วไปของรพ.สต. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้องน้ำ สะอาด สวยงาม

รพ.สต.บ้านโคก เพิ่งได้ unit ทำฟัน ใหม่ โดยอบต.บ้านโคก เป็นผู้จัดหาให้ (แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดีของเจ้าหน้าที่กับชุมชน !!!)
รพ.สต.บ้านโคก ใช้ Internet ความเร็ว 6 M  สำหรับ Web Cam ก็เหมือนหลายๆแห่งคือ มีแต่ไม่เคยใช้


มีเจ้าหน้าที่ค่อนข้างมาก (ซึ่งคงเป็นปกติสำหรับเขตอำเภอเมือง เหมือนกันทุกจังหวัด) เนื่องจากไปมาหลายวัน เพิ่งมาบันทึก สับสนชื่อ จึงไม่สามารถ label ชื่อประกอบได้ ดูกันเองแล้วกันว่า ไผเป็นไผ



๑. คุณทับทิม สุนรีย์ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการ รพ.สต. ขณะนี้ไปเข้าอบรมหลักสูตร ผู้อำนวยการ รพ.สต.ที่ วสส.พิษณุโลก (ซึ่งผู้เขียนเพิ่งไปเป็นวิทยากรมาเมื่อวันก่อน) 
๒. คุณสุธีธิดา มาเพชร นักการแพทย์แผนไทย (ตำแหน่งจ้าง) เรียนจบ การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต ม.แม่ฟ้าหลวง (เจ้าตัวยืนยันว่าปริญญาชื่อนี้จริงๆ)
๓. คุณวินัย คำวิเศา เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (ตำแหน่งจ้าง) เรียนจบ ปวส.คอมพิวเตอร์
๔. คุณกชพงศ์ สว่างจันทร์ เจ้าหน้าที่เวชระเบียน (ตำแหน่งจ้าง) เรียนจบ ปวส.อิเล็กโทรนิกส์
๕. คุณพิมฉวี นาคสำราญ พยาบาลวิชาชีพ (ตำแหน่งจ้าง ตามแผน on top)
๖. คุณกุลธาดา มณีนุษย์ นักวิชาการสาธารณสุข (ตำแหน่งจ้าง) เรียนจบ วท.บ.(สาธารณสุขชุมชน จาก ม.ราชภัฏ เพชรบูรณ์
๗. คุณมาลัยพร วงศ์กาอินทร์ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ ทำงานที่นี่มานาน ๑๖ ปี
๘. คุณศศิธร สุขสมบูรณ์ พยาบาลวิฃาฃีพ ชำนาญการ ทำงานมา ๘ ปี
๙. คุณณิชากร เขียวทอง เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เพิ่งเรียนจบมาทำงานได้ ๓ เดือน ยังไม่ได้รับเงินเดือน เพราะโรงพยาบาลยังไม่ออกคำสั่งจ้าง แต่เจ้าตัวดูไม่ทุกข์ร้อนมาก ด้วยยังเบิกเงินคุณพ่อคุณแม่ใช้ได้ ยังงงๆอยู่ว่าทำไมไม่โอนเงินมาให้รพ.สต.ออกคำสั่งจ้างเอง น่าจะสะดวกกว่า
๑๐. คุณรัตนะพร ติดมา ผู้ช่วยทันตาภิบาล(ตำแหน่งจ้าง) เรียนจบครุศาสตร์(คหกรรม) ทำงานที่นี่มา ๙ ปี เดิมทำหน้าที่เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
๑๑. คุณพรทิวา ดีแก้ว ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย(หมอนวดแผนไทย) หลักสูตร ๓๓๐ ชั่วโมง
๑๒, คุณปวีณา ท่าหลวง ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย(หมอนวดแผนไทย) หลักสูตร ๖๐ ชั่วโมง
๑๓. คุณยังใจ ธิมา ลูกจ้างทำความสะอาด

ปัญหาสำคัญสำหรับรพ.สต.นี้ คือ
๑. ต้องคอยติดตามงบประมาณจาก CUP ( คับอีกแล้ว )
    สาธารณสุขอำเภอคงต้องเน้นการประสานงานกับโรงพยาบาลให้มากขึ้น
    ตราบใดที่ ยังใช้เงินเป็นปัจจัย ในการผลักดันการดูแลสุขภาพประชาชน
    (อ่าน วังน้ำวน http://www.gotoknow.org/blog/blogoffice/401944 )
๒. ปัญหาทางเข้ารพ.สต. กำลังประสานเพื่อปรับให้ทางเข้าสะดวก กว้างขวางขึ้น

งานเด่นที่ภาคภูมิใจ
๑. ได้รับรางวัลที่ทำงานน่าอยู่ ปี ๒๕๕๒ ระดับจังหวัด
๒. ชมรมผู้สูงอายุดีเด่น ระดับเขต ปี ๒๕๕๒
๓. นวัตกรรม ซองยาสัญลักษณ์ ใช้ในผู้สูงอายุ
    (แต่เลิกใช้ไป เพราะความไม่สะดวกของผู้ทำเอง และ คนไข้ก็ปรับตัว ไม่มีปัญหากับซองยาที่ใช้อยู่)


โพสต์ครั้งแรกเมื่อ 

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เยี่ยมๆมองๆ รพ.สต.ดงมูลเหล็ก

วันอังคารที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔


เดิมตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมรพ.สต.ที่อยู่ไกลๆก่อน แต่ก็ให้บังเอิญวันนี้มีภารกิจตอนบ่ายในอำเภอเมือง จึงเปลี่ยนเป้าหมายเดิมที่ตั้งใจจะไปเยี่ยมรพ.สต.ในเขตอำเภอน้ำหนาว เป็นเยี่ยมรพ.สต.ใกล้ๆแทน
รพ.สต.ดงมูลเหล็ก จึงเป็นแห่งแรกของอำเภอเมืองที่ได้ไป เยี่ยมๆมองๆ
รพ.สต.ดงมูลเหล็กอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ ๖ กม.เดินทางจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพียง ๑๐ นาที


รพ.สต.ดงมูลเหล็ก เป็นรพ.สต.ที่ออกแบบได้สวยงาม เหมือนเดินเข้าไปในโรงแรมห้าดาว ทั้งมุม ลงทะเบียน ห้องตรวจ จุดรอ จุดรับยา ดูสวยงาม ก็ได้แต่หวังว่า คงไม่ใช่สวยแต่รูป การบริการคงจะดีตามไปด้วย (ไม่ได้ซักถามในรายละเอียดการเงินการคลัง แหล่งงบประมาณในการตบแต่ง) ขณะไปเยี่ยมชมกำลัง ทำรั้ว แต่งบ้านพัก ที่ไม่มีเจ้าหน้าที่พัก ให้เป็นจุดบริการทันตกรรมและแพทย์แผนไทย สำหรับ unit ทำฟัน มีแค่ unit สนาม ทำได้แค่ถอนฟัน ๖ ชุดต่อวัน (เมื่อกลับมาเช็คข้อมูลจึงทราบว่าจะได้จากงบค่าเสื่อมปี ๒๕๕๔)



รพ.สต.ดงมูลเหล็ก รับผิดชอบพื้นที่ ๑๑ หมู่บ้าน ประชากรประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน จึงมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบค่อนข้างมากดังนี้


คุณวิรัชฎา มะมา นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ  จบพยาบาลเวชปฏิบัติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการ รพ.สต
    คุณวิรัชฎาซึ่งติดประชุม ไม่ได้พบในวันนี้ รู้สึกจะเป็นเป็นคนที่ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความชื่นชม เคยได้รับรางวัล สตรีไทยดีเด่น จ.เพชรบูรณ์ ปี ๒๕๕๓ ดูจากการตกแต่งรพ.สต.สวยงาม ก็น่าจะเป็นคนมีหัว creative ตามที่น้องๆเล่าให้ฟัง ว่า หัวหน้าเป็นคนคิด (เมื่อตามไปดูรูป Facebook แค่ชุด ก็ดูจะไม่ผิดไปจากความจริง)

คุณสุวิทย์ มะมา นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ (เห็นนามสกุลก็พอจะเดาได้ว่าเป็นอะไรกันกับ ผอ.)
คุณวิชุตา ทองปาน เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (ตำแหน่งจ้างเงินบำรุง)
คุณจริยา บางณรงค์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข (คุณจริยา ได้เคยเจอกันมาก่อนหน้านี้ เมื่อเริ่มทำงานไปบรรจุที่ รพ.สต.วังเตย อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ย้ายมาเพชรบูรณ์ เมื่อพฤศจิกายน ๒๕๕๓
คุณฉัตรดาว อิธิตา นักการแพทย์แผนไทย (คุณฉัตรดาวเพิ่งมาทำงานได้ไม่นาน เรียนจบ วท..(แพทย์แผนไทยประยุกต์จาก มหาวิทยาลัยนเรศวรงานแพทย์แผนไทยของรพ.สต.ดงมูลเหล็ก มีผู้ช่วยแพทย์แผนไทย(หมอนวดแผนไทย อบรม ๓๓๐ ชั่วโมงอีก ๕ คน ทั้งหมดทำงานแบบรับค่านวด ๖๐ ไม่มีเงินเดือน มีคนไข้มาใช้บริการวันละประมาณ ๑๐ คน เก็บค่านวดผู้ป่วยครั้งละ ๒๐๐ บาท (ดูแล้วไม่ค่อยแน่ใจ ว่าจะมีรายได้พอเพียงหรือไม่ เพราะยังไม่ค่อยสัมพันธ์กัน คงต้องลองดูจากข้อมูลที่บันทึกไว้อีกครั้ง )
คุณวิลัยวรรณ โชคชัย นักวิชาการสาธารณสุข (ตำแหน่งจ้างจบ สบจาก วิทยาลัยนครราชสีมา
คุณปราณี รุ่งมี พนักงานทำความสะอาด

เจ้าหน้าที่รพ.สต.ยืนยันว่าผลัดกันมาทำงานอยู่เวรที่รพ.สต.ในวันหยุดราชการ ไม่ได้รับ OT แต่ก็ยินดีและเต็มใจ 
มี Internet ใช้ที่ความเร็ว 8 M (เร็วกว่าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแยะมี Web Cam แต่ไม่เคยใช้เลย (ยังต้องตามดูระบบการปรึกษาแพทย์โรงพยาบาลเพชรบูรณ์)

ปัญหาสำคัญของรพ.สต.นี้ คือ
๑. การโอนเงินผ่าน CUP ช้า 
    (ชอบ CUP กันจัง  อ่าน
    ภาษาไทยนานๆคำ http://buabangbai.blogspot.com/2011/04/blog-post_7.html  และ
    ภาษาอังกฤษไม่ยากอย่างที่คิด http://buabangbai.blogspot.com/2011/04/blog-post_6.html ) 

๒. ไม่ได้ใช้ Computer ในการเก็บข้อมูล เพราะ จังหวัดเองไม่รับรายงาน Electronic ต้องรายงานเป็นกระดาษ เมื่อมานิเทศก็ขอดูกระดาษ (อันนี้ต้องตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ใครโบราณกว่ากัน ระหว่าง คนตำบลกับคนจังหวัด)

งานเด่นที่ภาคภูมิใจ
๑. ชนะการประกวดสถานีอนามัยดีเด่นระดับจังหวัด เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ , ๒๕๔๕ , ๒๕๕๐ 
๒. กองทุนสขภาพดีเด่น ระดับประเทศ และ รางวัลอื่นๆอีกเยอะ ๑๐ ปีที่ผ่านมาประมาณ ๓๐ รางวัล

โพสต์ครั้งแรกเมื่อ 

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เยี่ยมๆมองๆ รพ.สต.ศาลาลาย

วันอังคารที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔

เมื่อออกจาก รพ.สต.เฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ไปแวะกินก๋วยเตี๋ยวไก่ตุ๋นในตลาดชนแดน(ตามที่ พขร.เทวัญ แนะนำ) แล้วเดินทางต่อไป เยี่ยมๆมองๆ ที่ รพ.สต.ศาลาลาย




เมื่อไปถึงในช่วงเวลาพักเที่ยง แต่รพ.สต.ยังดูคึกคัก ด้วยเป็นว่ามีทีมจาก โรงพยาบาลชนแดน มาออกหน่วยให้บริการประชาชนอยู่ด้วย มีคนไข้นั่งรอพอสมควร  รอเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลกินข้าวกลางวัน (ส่วนเจ้าหน้าที่จากรพ.สต. รอให้ทีมโรงพยาบาลกินเสร็จจึงจะได้กิน !!!!! )

รพ.สต.ศาลาลาย ตั้งอยู่ใน ต.ศาลาลาย อ.ชนแดน ดูแลพื้นที่ ๑๐ หมู่บ้าน ประชากร ๕๖๗๗ คน มีเจ้าหน้าที่หญิงล้วน



คุณชมนภัส คนดี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการ
คุณสุทิสา ประยงค์กุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ(พยาบาลเวชปฏิบัติ)
คุณสุรีพร โทนแก้ว ลูกจ้างพนักงานบันทึกข้อมูล
คุณละเอียด กลอนกลาง ลูกจ้างทำความสะอาด

และกำลังมีแผนจะจ้างนักวิชาการสาธารณสุข (จบสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์) กำลังทำเรื่องเสนอสาธารณสุขอำเภอ เพื่อขอจ้างด้วยเงินบำรุงอยู่

ปัญหาของรพ.สต.นี้ คือ

๑. จังหวัดเรียกอบรม ประชุม บ่อยและซ้ำซ้อน บางครั้งทำเอาจนไม่เหลือเจ้าหน้าที่อยู่ให้บริการประชาชน (ทำให้นึกถึง หมอเก่งๆนะมีมั้ย? ของหนองบัวลำภู อ่าน http://buabangbai.blogspot.com/2009/02/blog-post.html ) เมื่อฟังแล้วต้องตัดสินใจว่า จะจัดระบบในจังหวัดให้ประสานการจัดการอบรมให้เหลือน้อยลง หรือ จะอนุมัติให้รพ.สต.จ้างเจ้าหน้าที่เพิ่มให้เพียงพอกับการส่งตัวไปอบรมดี อิอิ)
๒. ระบบ Internet ใช้ IP Star ความเร็วสูงสุด 125 kpbs (จ่ายเดือนละ ๑๙๐๐ บาท ทนได้ไงเนี่ย...) การ Key ข้อมูลจึงทำไม่ค่อยได้ แถมมีปัญหา password สับสน ขอใหม่ยังไม่ได้)
๓. ระบบรายงานซ้ำซ้อน เปลี่ยนแปลงแบบรายงานบ่อย
๔. ไม่มี Unit ทำฟัน ไม่มีทันตาภิบาล

งานเด่นที่ภาคภูมิใจ

๑. ความร่วมมือของชุมชนดี มีชุมชนต้นแบบ เป็น ชุมชนลดเสี่ยงลดโรค ที่ หมู่ที่ ๔ บ้านวังดินดำ ในชุมชนนี้ ทุกบ้านจะปลูกผักสวนครัวกินเอง ออกกำลังกายเป็นประจำ (หากมีโอกาสจะไป เยี่ยมๆมองๆ เพื่อไปเผยแพร่ต่อไป)
๒. ผอ.รพ.สต. เป็นวิทยากร SRM ของอำเภอ (SRM Strategic Route Map แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์) ได้ให้ข้อคิดที่สำคัญว่า ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเคยชินกับการ รับ ไม่ค่อยได้ คิดเอง แม้กระบวนการ SRM ก็ยังต้องรอเจ้าหน้าที่ คิดให้ (จึงอาจไม่ประสบผลสำเร็จ หากไม่ต่อเนื่อง)

ต้องรีบปิดการสนทนาเพราะ เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้กินข้าว



โพสต์ครั้งแรกเมื่อ 

เยี่ยมๆมองๆ รพ.สต.ตะกุดไร

นอังคารที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ยังพอมีเวลา จึงไป เยี่ยมๆมองๆ ต่อที่ รพ.สต.ตะกุดไร 



รพ.สต.ตะกุดไร ตั้งอยู่ ต.ตะกุดไร ซึ่งอยู่ติดกับ เทศบาลดงขุย (ส่วน รพ.สต.ของตำบลดงขุยชื่อ รพ.สต.บุ่งคล้า อยู่ไกลออกไป) จึงต้องให้บริการผู้ป่วยส่วนใหญ่ของเทศบาลดงขุย ผู้ป่วยนอกที่นี่จึงค่อนข้างมาก ประมาณ ๖๐ คนต่อวัน

รพ.สต.นี้มีเจ้าหน้าที่มาก นับไปนับมาได้ตั้ง ๘ คน


คุณธาริณี ต่ายเมือง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ทำหน้าที่ ผอ.รพ.สต.
คุณพรสุดา จุมพล เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติการ เพิ่งจบมาทำงานได้ ๑ ปี
คุณฉวีวรรณ กริมไช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ(เวชปฏิบัติ) เป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชนแดน ที่มาปฏิบัติงานที่รพ.สต.ทุกวัน
คุณประคองจิต บุญชู นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ (ลูกจ้างทำงานมา ๓ ปี ยังไม่ได้บรรจุ)
คุณจินดามาศ เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติการ (ลูกจ้างทำงานมา ๔ ปี ยังไม่ได้บรรจุ)
คุณพิมลรัตน์ เทพประสงค์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชนแดน ที่มาปฏิบัติงานที่รพ.สต.ทุกวัน
คุณน้ำฝน กงขัน ลูกจ้างพนักงานบันทึกข้อมูล(จ้างโดยโรงพยาบาลชนแดน)
คุณอรรครัตน์ นะมะปัทมะราชัย ลูกจ้างทำความสะอาด

นอกจากนั้นทาง โรงพยาบาลชนแดน ยังส่งเจ้าหน้าที่เวียนมาปฏิบัติงานที่รพ.สต.ตะกุดไรนี้อีกวันละ ๓-๔ คน เช่นวันนี้มี คุณสุดใจ ดวงอุปละ เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน มาช่วยงานเภสัชกรรม

เมื่อไปพบผู้อำนวยการโรงพยาบาลชนแดน นพ.สาโรจน์ โพธิ์เชิด ในเย็นนั้น จึงได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า รพ.สต.ตะกุดไร เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน(PCU Primary Care Unit) แห่งแรกๆของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่รพ.ชนแดนสนับสนุน เพื่อให้เกิดการบริการใกล้บ้าน มีผู้รับบริการค่อนข้างมาก เพื่อเป็นการลดความแออัดที่รพ.ชนแดน จึงจัดอัตรากำลังมาให้บริการมากกว่าที่อื่น

ปัญหาสำคัญของรพ.สต.นี้ คือ

๑. Internet ช้า ไม่รู้ว่าความเร็วเท่าไร รู้แต่ว่าช้า , คอมพิวเตอร์ที่มีรุ่นเก่าๆ ทำงานช้ามาก password ในการลงข้อมูลอะไรบางอย่างที่ฟังแล้วยังสับสนอยู่ สลับกับ รพ.สต.โป่งนกแก้ว ซึ่งเป็นรพ.สต.อีกแห่งที่อยู่ในตำบลเดียวกัน ได้แนะนำให้ up grade เครื่องให้ทันสมัยขึ้น กับแจ้งเรื่องการขอแก้ไข user name และ password เป็นทางการ เพราะที่ผ่านมาอาจแจ้งแบบไม่มีเอกสาร หน่วยงานที่รับผิดชอบอาจไม่ยินดีปรับแก้ให้

๒. ค่าครองชีพของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้รับตามกำหนด (ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้รับการแจ้งมาทาง Web Board ถามที่นี่มีคำตอบ ได้คำตอบที่ค่อนข้างจะชัดเจนแล้ว ที่ http://leaflet.phpbb3now.com )
  
งานเด่นที่ภาคภูมิใจ

๑. มีงานวิจัยของรพ.สต.ที่ชนะการประกวด เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเขียนแผนที่เดินดินด้วย Microsoft Visio ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจ งานพัฒนาบุคคลกร(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) น่าจะจัดให้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยต่างๆ ให้นำไปใช้และพัฒนาต่อยอดต่อไปตามแนวทาง 3D (อ่าน วิชาการ DD http://buabangbai.blogspot.com/2008/12/d-d.html )

๒. ผลงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยการเกิดมะเร็งเต้านม และ Model เต้านมจากกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อใช้ในการตรวจหามะเร็งเต้านม (ซึ่งฟังแล้วผู้เขียนก็ยังนึกภาพไม่ออกว่า จะให้ sense ของการคลำหาก้อนมะเร็งได้ยังไง จึงแนะนำวิธีสอน ที่แนะนำมาหลายแห่งแล้วแต่ไม่เคยมีใครยอมทำสักที คือ ให้วิทยากรแสดงการคลำเต้านมตนเอง สอน อสม.หรือชาวบ้านให้คลำตาม น่าจะเข้าใจง่ายกว่า ไปคลำกับ Model)



หมายเหตุ ขอขอบคุณที่อยู่ทางภูมิศาสตร์จาก web สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชนแดน http://www.chdhealth.org 

โพสต์ครั้งแรกเมื่อ