วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Up to you


ผู้เขียนไม่เคยใช้สำนวน Up to you มาก่อน และได้รู้จักคำนี้จากเพื่อนร่วมงานท่านหนึ่ง ซึ่งถ้าท่านที่เคยติดตามผู้เขียนมาสักระยะ ก็จะรู้จัก เภสัชกรศิริชัย ระบาเลิศ หรือ เสี่ยตุ้ก หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นอย่างดี

ศิริชัย ชอบพูดคำว่า Up to you แล้วก็แปลให้ฟังอย่างตรงไปตรงมา เข้าใจง่ายว่า แล้วแต่มึง

ผู้เขียนก็ยังคงไม่เคยใช้ Up to you ต่อไป เว้นแต่เมื่อโดนศิริชัยยัดเยียดให้ มาคิดถึงคำนี้อีกครั้ง เมื่อนั่งอบรมหลักสูตร ผู้นำ Proactive อยู่ที่โรงแรมชมวิว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามโครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารของ ผู้ว่าฯชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เมื่อวันที่ ๒๑-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา เมื่อผู้บรรยายพูดถึงคำว่า ปลดปล่อยศักยภาพ

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ Up to you

Up to you แปลให้น่าฟังก็ แล้วแต่ความเห็นของคุณ ตามใจคุณ แล้วแต่คุณ

เวลานั่งที่โต๊ะสั่งอาหาร ผู้เขียนมักตอบว่า ตามใจ เมื่อภรรยาถามว่า จะกินอะไร Up to you

ผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนไม่น้อย ชอบที่จะให้ผู้บังคับบัญชาตัดสินใจเสียทุกเรื่องทุกราว อะไรๆก็ Up to you แล้วแต่นาย

ในที่สุด ผู้บังคับบัญชา ก็เคยชิน คิดแทนทุกเรื่อง เหมือนผู้เขียนที่สูญเสียอำนาจการตัดสินใจไปแล้ว เมื่อบอกว่าตนเองอยากจะกินอะไร ภรรยาก็จะบอกว่า อย่ากินเลยเมนูนั้นเอาเมนูนี้ดีกว่า Up to me

ในฐานะผู้บังคับบัญชา ผู้เขียนไม่สุขใจนัก เมื่อเจอผู้ใต้บังคับบัญชาประเภท Up to you

ทำไมจะต้องมาถามความเห็นเสียทุกเรื่องราว ทุกอย่างต้องรอให้ผู้บังคับบัญชาตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางท่านไม่เสนอแนวคิดอะไรเลย มาด้วย สมองใสๆ อย่างแท้จริง

หากท่านไม่คิดอะไรเลย ท่านจะแสดงศักยภาพในตัวเองออกมาได้อย่างไร

ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้เขียนก็เบื่อผู้บังคับบัญชา ประเภท Up to me

ผู้บังคับบัญชาที่ไม่ยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้คิด ได้เป็นตัวของตัวเอง

ทุกคนมีศักยภาพเพียงพอในการทำงาน ไม่ต้องเป็นห่วง เป็นกังวลไปเสียทุกเรื่อง
ต้องรู้จัก ปลดปล่อยศักยภาพ ของผู้ใต้บังคับบัญชาบ้าง

หมายเหตุ ทั้งหมดนี้ยกเว้น ผู้บังคับบัญชาที่บ้าน ที่ยังคงเหมือนเดิม อิอิ




[โพสต์ครั้งแรกที่ Gotoknow Blog Office 25 พฤษภาคม 2553 11:40]

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Dropbox


วันนี้ผู้เขียนลาพักผ่อนหนึ่งวัน แต่ก็โดนโทรศัพท์ ทวงรายงาน แต่เช้า

เมื่อติดตามก็ได้รับคำตอบว่า ส่งไปแล้ว ผู้รับสับสนเอง ผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่า กระบวนการทั้งหมดเกิดจากระบบการส่งที่ใช้วิธีแนบไฟล์ส่งทาง email ซึ่งผู้เขียนเองไม่ค่อยชอบใช้ ไม่ว่าจะเป็น free email หรือ email ขององค์กร ด้วยเหตุที่ว่า

1. การแนบ file ไปกับ email มักมีข้อจำกัดเรื่อง ขนาดของ file ที่ใหญ่มากไม่ได้
2. การส่งไปทาง email มักมีข้อถกเถียงกันว่า ไม่ได้ส่ง กับ ส่งแล้วไม่รับ เพราะไม่มีระบบตรวจสอบ ผู้ส่งอาจไม่ได้ส่งจริงๆ หรือส่งแล้วแต่ผู้รับยังไม่ได้ check mail ของตน หรือ มันอาจตกไปอยู่ที่ ถังขยะ ผู้เขียนจึงไม่ค่อยชอบให้ผู้ร่วมงานส่งข้อมูลในลักษณะ file ทาง email เว้นแต่เป็นเรื่องส่วนตัว

ผู้เขียนชอบใช้ Dropbox ของ http://www.dropbox.com ใช้มาหลายปี ตั้งแต่ ลูกชาย(ธันวา ธีระกาญจน์) แนะนำ พบว่ามีข้อเด่นหลายประการ

กรณีใช้งานคนเดียว

1. Dropbox ใช้สำหรับเก็บข้อมูล ให้เนื้อที่ฟรี 2GB (มี promotion กรณีแนะนำให้ผู้อื่นใช้ ตอนนี้ผู้เขียนได้เนื้อที่ 3.25GB)
2. เมื่อสมัครใช้ และ Download Dropbox มาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ มันจะจัดการสร้าง Folder ให้เครื่องเราใช้ชื่อว่า My Dropbox ใน Documents(My Documents) ต่อนี้ไป หากเครื่องเราอยู่ในสถานะ online เมื่อเราวาง file ใดๆลงใน Folder My Dropbox มันจะจัดการ upload ข้อมูลไปเก็บใน sever ของระบบ เราจึงมีข้อมูล backup ได้ทันที File ใหญ่หน่อยก็ไม่ค่อยมีปัญหา
3. กรณีมีคอมพิวเตอร์ใช้งานหลายเครื่อง (สำหรับผู้เขียนใช้ 4 เครื่อง คือ เครื่องที่ทำงาน เครื่องที่บ้าน โน้ตบุ้ค และ pocket PC Phone ) หากเรา set up ทุกเครื่องของเราด้วย user name เดียวกัน เมื่อเรา online ทุกเครื่องของเราก็จะได้รับการ Synchronize ให้ทุกเครื่องเหมือนกัน ไม่ต้องใช้ Handy drive ไม่ต้องสับสนกับ ไฟล์ใหม่เก่า หากผิดพลาดประการใด Dropbox จะจัดการเก็บไฟล์ที่ incompatible ไว้ให้เลือกใช้
4. หากผิดพลาดลบไฟล์สำคัญทิ้งไป ยังสามารถเข้าทาง web กู้กับคืนได้ แถมมี log file บันทึกกิจกรรมของเราไว้เรียบร้อย หากไปใช้เครื่องที่ร้านเน็ต ก็สามารถเปิดผ่าน web ไป download ไฟล์ที่ต้องการได้
5. สามารถใช้งาน offline ได้ เมื่อไรที่ online มันก็จะจัดการ update ทุกอย่างเอง

กรณีใช้งานร่วมกับผู้อื่น

Dropbox อนุญาตให้ share folder ได้ ทุกคนที่ share folder ร่วมกันสามารถ เห็น ใช้ ใน folder นั้นร่วมกัน มันจัดการ sync ให้ทุกเครื่อง ใครเป็นผู้ใส่ไฟล์นั้นลงมา ใครลบทิ้ง ใครแก้ไข มันเขียนไว้ใน log file เป็นหลักฐาน

หากต้องการใช้งานมากๆ ก็จ่ายเงินซื้อเนื้อที่เพิ่มเอาเองหากหน่วยงานนำเอา Dropbox หรือโปรแกรมอื่นใดลักษณะนี้ มาใช้ ก็จะลดปัญหาการส่งรายงานได้พอสมควร

Try it


[โพสต์ครั้งแรกที่ Gotoknow Blog Office 07 พฤษภาคม 2553 15:50]